32.8 C
Thailand
วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
- Advertisement -spot_img

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค เตือนรัฐบาลถึงแนวคิดการเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency)

เตือนรัฐบาลถึงแนวคิดการเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซี : ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย เตือนรัฐบาลถึงแนวคิดการเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) นั้นจะเป็นการตัดตอนโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งกรณีนี้อาจทำให้ทุนคริปโตมหาศาลย้ายไปโตที่อื่นๆ ได้เพียงเสี้ยววินาทีเดียว ซึ่งจะหมายถึงประเทศไทยที่จะเป็นผู้เสียโอกาส และทางที่ดีภาครัฐควรมีบทบาทกำกับดูแลให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตขึ้นได้ในไทย แล้วจึงค่อยมาคิดเรื่องภาษีในภายหลัง

.
ดร.เผ่าภูมิ (Paopoom Rojanasakul – เผ่าภูมิ โรจนสกุล) กล่าวว่า วันนี้ธนาคารกลางจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะผสมผสานนโยบายการเงินแบบเดิมควบคู่ไปกับคริปโต แต่จะสรุปให้คริปโตทำหน้าที่เงินตราดิจิทัลเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนหรือกระทั่งมาแทนระบบธนาคารกลางก็เป็นเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่มาก และเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดถึงทิศทางการพัฒนาของคริปโตว่าจะไปทิศทางไหน วันนี้รู้เพียงว่าระบบการชำระเงินเดิมมีข้อจำกัด ธนาคารกลางเองก็ไม่สมบูรณ์ แต่ก็เร็วเกินไปที่จะสรุปว่า คริปโตจะเป็นคำตอบของระบบการเงิน และเร็วเกินไปที่รัฐจะตัดสินใจเชิงนโยบายบนความไม่รู้ว่าจะเปิดรับ ปิดกั้น ต่อต้าน หรือสนับสนุนอย่างไร
.
ดังนั้นการที่กรมสรรพากรเร่งรีบกระโจนเข้าไปเก็บภาษีจึงน่ากังวล เพราะโดยหลักมาตรการทางภาษีจะมีผลในเชิง ‘ต่อต้าน’ การพัฒนาการเงินในรูปแบบใหม่ ทั้งที่ในภาพเชิงนโยบายยังไม่ได้ข้อสรุปเลยว่าควรเก็บภาษีหรือไม่และเก็บเมื่อไร แต่สรรพากรข้ามขั้นตอนไปคุยเรื่องเก็บภาษีแล้ว
.
ธรรมชาติของ ‘ภาษี’ ส่งผลให้อุตสาหกรรมนั้นๆ หดตัวเหนี่ยวรั้งการพัฒนาคริปโต ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการเก็บภาษีกับธุรกิจใหม่อย่างนี้ควรรอให้อุตสาหกรรมนั้นตั้งตัวได้ในระดับหนึ่ง การที่รัฐเร่งรีบเก็บภาษีเร็วเกินไปจึงเหมือนกันไปตัดตอนโอกาสทางธุรกิจ ตัดตอนโอกาสการระดมทุนและการสร้างธุรกิจใหม่ ในอนาคตโอกาสของคริปโต อาจเติบโตในไทยได้ใหญ่โตกว่านี้เป็นพันเท่าหมื่นเท่าแล้วค่อยไปเก็บภาษีจึงคุ้มค่าที่จะทำ การเร่งรีบเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่เติบโตเท่าที่ควร ทุนอาจเคลื่อนย้ายไปโตที่อื่นได้เพียงแค่ในเสี้ยววินาทีเดียว นี่คือการเสียโอกาส
.
วันนี้จึงอยากให้รัฐแยกคิดระหว่าง ‘การกำกับดูแล’ คริปโตกับ ‘การกีดกัน’ คริปโตที่มันคนละเรื่องกัน เพราะการกำกับดูแลต้องทำอย่างเหมาะสม แต่ไม่เห็นด้วยกับการกีดกันเพราะปัจจุบันคริปโต ไม่ใช่ภัยคุกคาม แต่ควรจะได้เติบโต หลักคิดของรัฐที่ควรจะเป็นคือ ‘ปล่อยให้โตแล้วค่อยตัดแต่ง’ โดยการกำกับที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่ ‘ตัดตอน’ ตอนยังเป็นต้นกล้า
.
ขณะเดียวกัน ภาครัฐ และ ธปท. ควรทุ่มเทเวลากับการพัฒนาระบบการเงินให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์ทางการเงินของโลกยุคใหม่ ควรเร่งทำเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง(Retail CBDC) ซึ่งเป็นตรงกลางระหว่างเงินตราของรัฐ (Fiat Money) และคริปโตฯ เพื่อลบข้อจำกัดของระบบการชำระเงินเดิม ธปท.ควรทำหน้าที่ของตนโดยการทำเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง CBDC ให้แข็งแรง เป็นที่ยอมรับ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงินภาครัฐ สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินให้สอดคล้องกับพัฒนาการของภูมิทัศน์ทางการเงินที่เปลี่ยนไป
เตือนรัฐบาลถึงแนวคิดการเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซี
- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด