34.5 C
Thailand
วันอังคาร, เมษายน 23, 2024
- Advertisement -spot_img

Coin กับ Token ต่างกันอย่างไร

Coin กับ Token ต่างกันอย่างไร

หลายคนคงสงสัยข้อแตกต่างระหว่าง Coin และ Token ทั้งที่ จริงๆ ทั้งสองก็คือสกุลเงินดิจิทัลเช่นกัน วันนี้เราจะมาเรียนรู้ข้อแตกต่างระหว่าง Coin และ Token กันครับ
เรามีวิธีการจำแนกง่ายๆ แค่เพียงจำว่า

” Coin มี บล็อคเชน (Blockchain) เป็นของตัวเอง ”
” Token สร้างขึ้น บน เชน (Blockchain ของเจ้าอื่น) ”

สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล  หลายๆคนเมื่อเริ่มศึกษาลึกไปถึงรายละเอียดของเหรียญแต่ละเหรียญที่เปิดขายอยู่ในกระดานต่างๆ  หลายท่านอาจเริ่มสังเกตว่ามีบางโปรเจคที่สกุลเงินนั้นถูกเรียกว่า “เหรียญ” แต่บางโปรเจคกลับเรียก “โทเค็น” สำหรับที่สงสัยว่าสองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร?  ค้นหาคำตอบได้ในบทความนี้ได้เลย

ก่อนอื่นต้องบอกทางผู้อ่านก่อนว่า นิยามของ Token กับ Coins ในนั้น นอกจากเราจะต้องพูดถึงในแง่ของสิ่งที่คนทั่วโลกโดยทั่วไปเข้าใจ กับ นิยามในแบบของ พรก.สินทรัพย์ดิจิทัลไทย ซึ่งการจำแนกทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง! เรามาดูที่วิธีการจำแนกโดยทั่วๆ ไปกันก่อน

และแยก Token ที่มักจะถูกเรียกพวกเหรียญเล็กๆ ที่ไม่ได้พัฒนาบล็อคเชนเป็นของตนเองโดยตรง โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
1.เหรียญประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคุณสมบัติที่เฉพาะเจาะจง เช่น ใช้เป็นแต้มหรือคะแนนสำหรับใช้บริการ, ใช้เป็นเชื้อเพลิงในระบบนิเวศน์หนึ่งๆ (บางที่ใช้จ่ายเป็นค่าทำธุรกรรม), เป็นเสมือนดอกเบี้ยอย่างหนึ่งที่ได้รับหากถือ “coins” บางประเภทไว้ตามเงื่อนไข, ไว้ใช้เป็นคูปองหรือบริการ, ปันผล
2.เป็นโปรเจคที่ไม่ได้มีการพัฒนาบล็อคเชนเป็นของตัวเองโดยตรง แต่เป็นการ “พัฒนาขึ้นมาจากบล็อคเชนของเหรียญอื่นๆ ที่มีบล็อคเชนของตนเองอยู่แล้วในระบบ” โดยมักชูจุดเด่นเรื่องการเป็นหนึ่งใน เครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงนั้นเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น CELER (CELR) เป็นโปรเจคที่พัฒนาขึ้นจากบล็อคเชนของ Ethereum ขึ้นมาเพื่อการสร้างระบบการชำระเงินบนบล็อคเชนที่มีความเสถียรและรวดเร็วอย่างมาก ด้วยแนวคิดที่คำนวนการทำธุรกรรมที่จะถูกแยกออกมาเฉพาะแต่ยังทำงานอยู่บน ETH (ซึ่งแน่นอน สร้างรับชำระด้วยเหรียญต่างๆ ใน ERC-20 ได้) สำหรับใครที่อยากนำบล็อคเชนและ Smart contract ของ ETH มาใช้แต่กังวลเรื่องความรวดเร็วของการทำธุรกรรม โปรเจคตัวนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ โดยเงื่อนไขหรือค่าใช้จ่ายในการนำระบบตัวนี้มาใช้คือการจ่ายด้วยโทเคนของ Celer
Token

ดังข้อ 2 จึงมักถูกเรียกว่าเป็นโปรเจค Side chain นั่นเอง (ส่วนมากในการแลกเปลี่ยนหรือใช้บริการมักต้องใช้ Token สกุลนั้นๆ เป็นเชื้อเพลิง แต่บางครั้งก็ใช้เหรียญหลักของ Chain ที่นำมาพัฒนาในการจ่ายตรงส่วนนี้แทน) Coin กับ Token ต่างกันอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม:รีวิวโบรกเกอร์

 

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด