36.7 C
Thailand
วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
- Advertisement -spot_img

ภาษีคริปโต พร้อมวิธีกรอกแบบการยื่นภาษี

ภาษีคริปโต พร้อมวิธีกรอกแบบการยื่นภาษี : เป็นที่ฮือฮารับปีใหม่ของเหล่านักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล “คริปโตเคอร์เรนซี” หลังกรมสรรพากรให้ผู้ที่มีกำไรจากการลงทุนคริปโต ต้องเสียภาษีเงินได้ให้ถูกต้อง ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี  อ้างอิงจากพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยระบุรายละเอียดในเนื้อหาว่าสินทรัพย์ดิจิทัลหากมีกำไรหรือมีผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ของกำไร และบุคคลที่มีเงินได้จากการซื้อขายคริปโทจะต้องยื่นแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขณะที่ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2561 ได้หมายเหตุในตอนท้ายว่า เหตุผลในการประกาศมใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ

โดยที่ในปัจจุบันได้มีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล หรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลซึ่งเงินได้จากกรณีดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี

แต่โดยที่ยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการจัดเก็บภาษีเงินได้จาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เป็นการเฉพาะเป็นเหตุให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บได้ครบถ้วน ดังนั้น

เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และโดยที่เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ทุกวันนี้นักลงทุนที่ขายเหรียญจาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หากขายได้กำไร โดยผู้จ่าย หรือ ผู้ซื้อเหรียญเราจะหักจากกำไรที่ได้ก่อนจ่ายเงินให้กับนักลงทุนที่ ซึ่งเป็นตาม ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร “เงินได้ตาม (มาตรา 40(4))

ซึ่งถึงแม้ว่าจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้ว สุดท้ายก็ยังต้องมายื่นภาษีประจำปีอีกเช่นกัน ดังที่หลายคนกำลังพูดถึง

โดยวิธีการ คือ 

cb6a1ffa4b

1. กรณีการบื่นแบบภาษีออนไลน์ เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์อีไฟล์ลิ่ง ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์  https://efiling.rd.go.th/rd-cms/

2. จากนั้นในหน้า กรอกเงินได้ จะมีหัวข้อ  รายได้จากการลงทุน  ระบุว่า ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใดๆ จากคริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4))

3.เมื่อไปที่ ระบุข้อมูล จะมีให้กรอกเป็นรายการ ประเภทธุรกิจ (ประเภทของเงินได้) เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขผู้จ่ายเงินได้

อ่านเพิ่มเติม:รีวิวโบรกเกอร์

ด้าน นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ โฆษกกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้ง คริปโตเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล โดยปกติว่าหากมีการขายแล้วมีกำไร ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4) จัดอยู่ในหมวดของการลงทุนแบบเดียวกับ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่ต้องเสียภาษี

ถ้าเข้าไปดูแบบ ก็จะมี รายละเอียดในคำอธิบายแต่ละข้อว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งก็จะมีอยู่หนึ่งข้อคือผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนและคริปโตเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล ที่ได้กำไร โดยเรื่องนี้เป็นกฎหมายอยู่แล้วว่า ถ้ามีกำไรจากการขาย ก็ต้องมีหน้าที่นำมารวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น ถ้าเราเป็นมนุษย์เงินเดือน แล้วมีไปเทรดคริปโต ตรงนี้นอกจากเงินเดือน เราก็ต้องเอาตัวนี้มาใส่ที่มาตรา 40(4) 

 

ทั้งนี้หากผู้ที่มีกำไรจากเทรดดังกล่าวและไม่ยื่นภาษีนั้น โฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า เรื่องนี้มีข้อมูลอยู่แล้ว และสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ซึ่งก็ต้องดูความผิดปกติของแต่ละราย ซึ่งขึ้นอยู่กับสรรพากรในแต่ละพื้นที่ว่าจะมีการตรวจสอบอย่างไร

ที่ผ่านมาการยื่นภาษี ในมาตรา 40 (4) มีรายละเอียดย่อยค่อนข้างมาก ประชาชนอาจยังไม่ทราบทั้งหมด ว่าต้องยื่นรายได้ในส่วนนี้ พอมีข่าวออกมาอาจจะทำให้เกิดความตื่นตัว ซึ่งทางกรมสรรพากรพยายามประชาสัมพันธ์ให้ทราบ เพื่อให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่ต้องมีภาระย้อนหลัง หากถูกตรวจสอบว่าไม่ได้ยื่น

ด้านเว็บไซต์ itax เว็บไซต์ที่นำเสนอรูปแบบและข้อมูลของกฎหมายเกี่ยวกับของภาษีครบถ้วนทุกด้าน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การคำนวณภาษีจากกำไรทำได้ยากมากๆ ในทางปฏิบัติ อีกทั้งยังเกิดช่องว่างบางประการที่รอการตีความอยู่ด้วย เช่น กรณีซื้อเหรียญมาจากกระดานในต่างประเทศแล้วโอนมีที่กระดานในไทย แล้วถอนเป็น สกุลเงินบาท จะหักภาษี  15% จากกำไรได้อย่างไร เพราะไม่ทราบว่าต้นทุนการซื้อที่แท้จริงเท่าไหร่ รวมถึงผู้ที่ขุดเหรียญจะหักค่สใช้จ่ายจากต้นทุน การซื้อเครื่องขุดและค่าไฟฟ้าไม่ได้เลย  หรือนักลงทุนบางคนโอนย้ายเงินไปอยู่ในบัตรเครดิตที่แปลง คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล มาใช้จ่ายเลย เช่น บัตร Bit Pay ก็น่าจะหลุดรอดจากเกณฑ์ตรงนี้ไปด้วยเช่นกัน เนื่องจากไม่ใช้ผู้ให้บริการในไทย

ภาษีคริปโต พร้อมวิธีกรอกแบบการยื่นภาษี

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

bestbroker168

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด