32.8 C
Thailand
วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
- Advertisement -spot_img

สารคดีของคุณปวีณอดีตตำรวจ เปิดโปงกระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

[Fearless Cop รางวัลของคนรักชาติ] – สรุปเรื่องราวขององค์กรค้ามนุษย์ บริหารงานโดยทหาร แบบเข้าใจง่ายที่สุด กระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

สารคดีของคุณปวีณอดีตตำรวจ Fearless Cop ที่ออกมาเปิดโปงกระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เป็นแค่การนำเนื้อหาในคลิปมาเล่าต่ออีกที
1- คุณปวีณ พงศ์สิรินทร์ เคยรับราชการตำรวจมา 33 ปี ขึ้นชื่อเรื่องการเผชิญกับอันตรายมาแล้วนักต่อนัก เป็นตำรวจที่รัฐบาลเคยเทิดทูนบูชาให้เป็นต้นแบบ
2- เป็นที่รู้กันในวงการว่าเขาไม่เกรงกลัวที่จะจับคนมีเงินและอำนาจ – ในสารคดีใช้คำว่า Unafraid คือไร้ซึ่งความกลัวทั้งสิ้น
ผู้ดำเนินรายการพูดว่า “แต่ในประเทศที่คุณปวีณกำลังรับใช้ ยิ่งเขาใส่ความซื่อตรงและจริงใจเข้าไปมากเท่าไร ยิ่งสร้างศัตรูมากเท่านั้น”
3- ครั้งหนึ่งที่คุณปวีณจับทหาร หนึ่งในตัวบงการการค้ามนุษย์ได้ แต่มีนักการเมืองโทรมาอ้างว่าเป็นเพื่อนและขอร้องให้ช่วยหน่อย คุณปวีณสวนกลับทันทีว่า
“No, it’s illegal. If you call me, I will arrest you because you make illegal. You can’t control me”
“ไม่ มันผิดกฎหมาย ถ้าคุณโทรหาผม ผมจะจับคุณเพราะคุณทำผิด คุณควบคุมผมไม่ได้หรอก”
กระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย [จุดเริ่มต้น]
4- ปี 2015 – มีการเคลื่อนไหวของโรฮิงญาที่พยายามลี้ภัยจากเมียนมาร์ไปยังมาเลเซีย มีผู้ลี้ภัยกว่าพันคนที่โดนกักขังในพื้นที่ชายแดนไทยมาเลเซีย
5- หากครอบครัวไม่มีเงินมาจ่ายค่าไถ่ ก็จะโดนข่มขืน ซ้อม หรือขายเป็นทาสให้เรือประมง โรงงาน กรีดยาง – สื่อต่างชาติระบุว่าการที่กระบวนการจะสะพรั่งได้ขนาดนี้ ต้องมีการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือบุคคลในรัฐบาลเท่านั้น
6- ในตอนนั้นนานาชาติกดดันให้ประเทศไทยจัดการกับปัญหาค้ามนุษย์ โดยการขู่คว่ำบาตรการค้าส่งออกของไทย – ประยุทธ์สั่งการ และแน่นอนว่าคนที่นำทีมสืบสวนคือคุณปวีณ แม้เขาจะไม่อยากทำก็ตาม
7- คุณปวีณเองเป็นตำรวจที่ผ่านงานมามากก็จริง แต่เขาไม่เคยเจอความโหดร้ายที่ชาวโรงฮิงญากำลังเจอ เขาเคยเห็นคลิปของชายโรฮิงญาคนหนึ่งที่หมดแรงจนเดินไม่ไหว ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ จนต้องกินใบไม้ประทังชีวิต
เขาเศร้าและแอบร้องไห้คนเดียวบ่อยครั้ง
กระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย [การสืบสวนเริ่มขึ้นทันที]
8- การสืบสวนเริ่มต้น คุณปวีณเริ่มตามรอยหลักฐานไปจนเจอเครื่อข่ายอาชญากรที่กระจายอยู่ในเมียนมาร์ บังคลาเทศ มาเลเซีย และไทย
ภายในไม่กี่วัน เขาออกหมายจับนายกเทศมนตรีและนักธุรกิจหลายคนที่ขนคนเข้ามาไม่ต่ำกว่าแสนคน
คุณปวีณรู้ทันทีว่าการกระทำอย่างอุกอาจนี้ ต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐคอยสนับสนุนอยู่เบี้องหลัง “ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง หรือองค์กรท้องถิ่นในประเทศไทย”
9- แม้ว่าตอนที่ได้รับมอบหมาย ผู้บังคับบัญชาจะย้ำนักย้ำหนาให้ทำงานให้สำเร็จลุล่วงให้ได้ เขากลับโดนขัดขวางโดยหนึ่งเจ้าหน้าที่สอบสวน ที่อ้างว่าต้องระงับหลักฐานสำคัญไว้ และอ้างต่อว่านี่เป็นคำสั่งของรอง ผบ. ตร. – ในสารคดีได้เอ่ยชื่อและสะกดว่า General Chakthip Chaijinda
10- คุณปวีณเอะใจและสืบต่อไปโดยตามรอยของสลิปโอนเงินไปเรื่อย ๆ จนพบกับรายการโอนเงินหนึ่งที่โอนจากทีมค้ามนุษย์มาบัญชีของ Manas Kongpaen จำนวนกว่าสิบล้านบาท (จากนี้ไปในบทความ แอดมินขอเขียนชื่อของ Manas Kongpaen ว่า ‘มนัส’ เพื่อความอ่านง่ายนะครับ)
11- คุณปวีณกล่าวว่า “เขา (มนัส) จะต้องป้องกันไม่ให้ใครขนคนเข้ามาในเขตของประเทศไทย นั่นเป็นหน้าที่ของเขา แต่ปรากฏว่าเขาทำในสิ่งที่ตรงข้าม มันยืนยันได้เลยว่า ทหารเนี่ยเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างแน่นอน”
เขากล่าวต่อ ว่ามีเจ้าหน้าที่ที่หวังจะได้ขึ้นเป็นผบ.ตร. หวังจะได้ตำแหน่งสูง ถ้าช่วยทหารได้ ไม่ว่าจะอะไรเขาก็ทำ แม้ว่าสิ่งนั้นจะหมายถึงการทำลายหลักฐานก็ตาม
12- สารคดีกล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่กรมตำรวจพยายามสืบสวนเพื่อจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐที่ตำแหน่งสูงขนาดนี้
คุณปวีณไปศาลเพื่อขอหมายจับมนัสสองครั้ง “ครั้งแรกผู้พิพากษาตกใจกลัวมากจนตัวสั่นไปหมด ถามว่าคุณไม่กลัวเหรอ?”
กระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย [เข้าใกล้ตัวการ]
13- เมื่อการสอบสวนเข้าใกล้ต้นตอมากขึ้น คุณปวีณได้รับโทรศัพท์จากบุคคลสองคน
ข้อความต่อจากนี้ แอดมินขออนุญาตยกคำของสารคดีมาเขียนโดยไม่ดัดแปลงอะไรทั้งสิ้นนะครับ
“According to Praween, as the team zeroed in on military involvement, the interference escalated.
He says the police colonel, Surachet Hakpan, aliased on deputy prime minister general Prawit Wonsuwan, called with a highly unusual and troubling request.”
แปล> “ตามคำกล่าวของปวีณ ตอนที่ทีมสืบสวนได้สาวไปจนเจอว่าทหารเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ การขัดขวางก็ทวีคูณขึ้น
เขากล่าวว่าพันเอกนามว่า Surachet Hakpan ร่วมมือกับรองนายกรัฐมนตรี Prawit Wongsuwan โทรศัพท์มาพร้อมกับข้อเรียกร้องที่แปลกประหลาดและน่าหนักใจอย่างสูง”
14- คุณปวีณเล่าว่า เขาได้รับโทรศัพท์เพื่อขอให้ประกันตัวของมนัส คือถ้ามนัสมอบตัวแล้วขอให้ช่วยประกันตัวให้หน่อย
คุณปวีณเป็นกังวลว่าหากประกันตัวได้ พยานจะเกิดความกลัวและไม่กล้าให้ปากคำ รวมไปถึงจะเกิดความเสี่ยงที่หลักฐานจะถูกทำลายด้วย
15- เขาเล่าต่อว่า “วันที่มนัสไปมอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการเปิดห้องรับรองอย่างดี สภาพของโรงพักด้านหน้าไม่เหมือนสถานีตำรวจแล้ว ลักษณะเหมือนเป็นค่ายทหาร มีนายทหารเดินเต็มไปหมด”
ทางทีมสารคดีพยายามติดต่อไปถึงคนสองคนที่โทรมาขอให้คุณปวีณช่วยประกันมนัส แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใด ๆ
[ความไม่พอใจของจนท. ระดับสูง]
16- คุณปวีณกล่าวกับทีมงานสารคดีว่าเขาได้รับการข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารระดับสูงอยู่เรื่อย ๆ เพราะมีคนไม่พอใจอย่างมากที่เขาจับมนัส
ด้วยความกลัว เขาบันทึกทุกอย่างลงบน Statutory Declaration (คล้ายคำอุทธรณ์ บันทึก คำสาบาน ขออภัยครับแอดมินหาคำแปลตรงตัวไม่ถูก)
ซึ่งคำบันทึกนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการขอวีซ่าลี้ภัยในประเทศออสเตรเลีย
17- “ผมถูกรมต.กระทรวงยุติธรรม ได้เรียกไปด่าว่า ใช้คำหยาบคาย ในความเห็นของผม สิ่งที่ผมได้รับคือการข่มขู่มีมาจากทุกทางโดยพวกองคาภยพที่ใกล้ชิดกับทหารในขณะนั้น” คุณปวีณเล่าต่อ
18- ทีมงานสารคดีได้นำคำบันทึกของคุณปวีณไปให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลเรือนทหารสัมพันธ์ของไทย (Thai civil military expert) ตรวจสอบ
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามันเขียนออกมาได้แจ่มแจ้งว่า ผู้นำของกลุ่มเผด็จการ (Junta) นั้นมีส่วนร่วมในการปิดปากคุณปวีณอย่างอย่างชัดเจน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “มีเจ้าหน้าที่สืบสวน ที่กลับมาข่มขู่คุณปวีณ ทั้ง ๆ ที่มันควรจะเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องช่วยเหลือ”
แอดมินขออนุญาตยกคำของผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นในสารคดีมาเขียนอีกครั้งนะครับ
“Who gave that inspector the job? Prawit. And he’s the problem.”
แปล> “ใครกันที่มอบหน้าที่นั้นให้จนท.สืบสวนคนนั้น? Prawit ไง แล้วเขาก็เป็นตัวปัญหา”
คุณปวีณเล่าว่า “เขาสั่งให้หยุด ไม่ให้จับทหาร”
19- ภายในเดือนกันยายน ปีคศ 2015 คุณปวีณจับผู้ต้องสงสัยเข้าคุกได้ทั้งหมด 91 คน แต่ก็ต้องพับการสืบสวนไว้เพราะไม่มีการสนับสนุนใด ๆ อีกต่อไป ทั้งเรื่องเงินและเรื่องการเมือง
20- ไม่กี่วันหลังจากที่คุณปวีณปิดการสืบสวนไป ประเทศไทยก็มี ผบ. ตร. คนใหม่ คือคนเดิมที่คุณปวีณกล่าวว่าช่วยทหารทำทุกอย่าง รวมทั้งการทำลายหลักฐาน และการระงับหลักฐานสำคัญไปเมื่อตอนที่คุณปวีณพยายามสืบสวนนั่นแหล่ะ
21- “การที่สั่งให้หยุดเพราะว่าการสืบสวนของผมอาจจะไปกระทบต่อผลประโยชน์ของคนระดับสูงที่สูงกว่ามนัส เขาจึงสั่งให้หยุด การที่เราจับกุมชายคนนั้น (มนัส) เป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเอง” คุณปวีณเล่า
สารคดีกล่าวว่าผลงานที่เขาทำไว้นั้นไม่ได้ตอบแทนมาเป็นคำชื่นชม
ภายในสามอาทิตย์หลังจาก ผบ. ตร. คนใหม่ได้รับการแต่งตั้ง คุณปวีณโดนสั่งย้ายไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทันที เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเหล่าคนมีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมไปถึงผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ถูกจับกุม
22- คุณปวีณเล่าว่า “ผมตกใจมาก การที่ส่งผมไปอยู่ตรงนั้น เหมือนกับส่งผมไปให้ศัตรู เพื่อนตำรวจก็มาเตือนว่า เขาล็อกเป้า ถ้าไปก็คงไม่มีชีวิตกลับมา ตอนนั้นล่ะ ที่ผมรู้ว่า เขาต้องการเอาชีวิตผม”
เขาเล่าต่อว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจที่มีรองนายกรัฐมันตรี (เราน่าจะรู้กันว่าใคร) เป็นประธานและมีผบ.ตร.เป็นกรรมการ ไม่พอใจในการทำงานของเขา
[การตัดสินใจของฮีโร่ของชาติ]
23- หลังจากปรึกษากับคนใกล้ชิด เขาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการ
“นั่นแหล่ะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดในชีวิตครั้งหนึ่ง”
ในตอนนี้ของสารคดี คุณปวีณร้องไห้ออกมา …
“ผมเสียใจนะตอนนั้น เพราะผมยังไม่อยากที่จะลาออก”
เขาสะอื้น พยายามกลั้นน้ำตาและรวบรวมลมหายใจ พยักหน้าด้วยทีท่าปลงไม่ตกพร้อมกับพูดว่า
“นี่คือรางวัลที่ทำเพื่อประเทศชาติ สิ่งที่ผมได้รับรางวัล คือสิ่งนี้”
… (ตอนที่แอดมินดูไปเขียนไป ต้องหยุดที่ประโยคนี้อยู่นาน ต้องเดินไปกินน้ำ ต้องพักเลย – แอดมินรู้สึกเหมือนมีใครกำลังบีบหัวใจอยู่ มันอึดอัดข้างในด้วยความทรมานจนบรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้)
24- สารคดีเล่าต่อว่า งานที่ประสบความสำเร็จที่สุดของคุณปวีณ กลายเป็นงานสุดท้ายของเขาในราชการ
เขารู้สึกไม่ปลอดภัยในประเทศไทยอีกแล้ว จึงหนีมาที่ออสเตรเลียและขอวีซ่าลี้ภัย
เขาเคยออกมาให้สัมภาษณ์โดยไม่เอ่ยนามบ่อยครั้ง และผบ.ตร.ก็สวนกลับทันที
แอดมินขอยกแถลงสื่อของผบ.ตร.มาเขียนโดยไม่ดัดแปลงอะไรทั้งสิ้นนะครับ
“เขาทำงาน เขาคาดหวังอะไรหรือเปล่าผมไม่ทราบ ทำงานเรื่องนี้เสร็จแล้วอยากได้ตำแหน่งสูงขึ้นรึเปล่า แล้วไม่ได้แล้วผิดหวัง คุณต้องพูดให้หมด อย่าพูดครึ่งเดียว ทหารเค้าก็เสียหายตำรวจก็เสียหาย แปลออกมา ตำรวจเลวทหารเลว พูดแบบนีไม่ถูก อย่าเอาองค์กรมาขาย อย่าทำร้ายประเทศนะครับ เรื่องส่วนตัวก็เรื่องส่วนตัว ขนาดห่างออกมายังโดนข้อหาเลยนะครับ ผมถือว่าไม่ใช่ลูกผู้ชาย”
25- สารคดีถามคุณปวีณว่ามีความเห็นอย่างไรบ้าง หลังจากเห็นการแถลงสื่อนั้น
“ไม่ประหลาดใจเพราะว่าเขาเนี่ย เป็นคนที่บิดเบือนต่อข้อเท็จจริงตลอด จริง ๆ แล้วเขาควรจะเป็นผู้ต้องหาของผมด้วย การที่ออกคำสั่งให้คนไปตรวจค้นสลิปของมนัสและให้เก็บไว้ไม่ให้ส่งมาที่ผม นั่นคือการขัดขวางขบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนอยู่แล้ว”
26- คุณปวีณต้องรีบหนีมาที่ออสเตรเลียทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้บอกลาครอบครัว
วันที่เขามาถึงประเทศออสเตรเลีย เขาพูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย
“จะบอกว่าไม่เสียใจเนี่ยมันก็โกหกตัวเอง ผมก็มีความเสียใจ” คุณปวีณชะงักไปอีกครั้ง
“มัน … ว้าเหว่ …”
“มันห่างไหลครอบครัว … ที่เรารัก”
“มันรู้สึก โดดเดี่ยว อ้างว้าง แล้วก็วังเวงมากในบางครั้ง … ครับ”
“แต่มันก็ต้องผ่านตรงนี้ไปให้ได้ … ครับ”
เขาพยักหน้ายอมรับ
26- ตอนนี้คุณปวีณทำงานในโรงงานทำเบาะรถยนต์ หน้าที่ของเขาคือการติดกระดุมบนเบาะหนัง
“จะว่ายากก็ยาก แต่มันไม่มีทางเลือก อีกอย่างนึง เราต้องยืนบนขาของตัวเองให้ได้”
“ในบางครั้งบางเวลา ก็หวนไปคิดถึงงานเก่า ๆ ที่ทำมา โดยเฉพาะคดีสุดท้ายที่ทำ นึกตลอดเวลา มารบกวนจิตใจตลอด เพราะเรื่องนี้มันเปลี่ยนชีวิตของผม … จากหน้ามือ เป็นหลังมือ”
“คดีนี้มันยังไม่จบ ที่ทำไปก็ยังไม่สมบูรณ์”
“ผมไม่อยากให้เห็นคนมาเป็นทาส เป็นเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกของผมมาก ผมคาดการณ์ไม่ถูกต่อสิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า ได้นำความจริงที่ผมได้ประสบพบเจอ เล่าสุ่สังคม ประเทศไทย รวมทั้งคนทั่วโลกได้รับรู้”
[คุณปวีณในตอนนี้ …]
27- เขาใช้ชีวิตกับเพื่อนที่เป็นอดีตครูสอนศาสนาชาวออสเตรเลียชื่อโนเอล
คุณโนเอลพบว่าคุณปวีณไม่มีเพื่อนและรู้สึกเหงา จึงเดินเข้าไปทักทายว่า “เฮ้ เมื่อไหร่จะมาเล่นลอว์นโบว์กันล่ะ?”
คุณโนเอลสอนให้คุณปวีณเล่นลอว์นโบว์ลจนเริ่มสนิทกัน ตอนนี้คุณปวีณเรียกเขาว่า Precious Brother (พี่ชายที่แสนล้ำค่า)
.
.
..
.
.
.
.
.

รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2564 จาก สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย

บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง

รัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ แต่มีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว ความพยายามเหล่านี้ประกอบไปด้วยการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการประสานงานกับภาคประชาสังคมในการสืบสวนสอบสวนกรณีการค้ามนุษย์และการคุ้มครองผู้เสียหาย การจัดการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานโดยคำนึงถึงบาดแผลทางใจให้แก่พนักงานอัยการและผู้พิพากษา ตลอดจนการเริ่มกระบวนการสอบสวนเจ้าหน้าที่ 9 รายที่ถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาใช้ช่วงระยะเวลาฟื้นฟูและไตร่ตรอง (reflection period) สำหรับผู้เสียหาย และกลไกการส่งต่อระดับประเทศ ตลอดจนจัดตั้งกองบังคับการตำรวจที่ปฏิบัติการปราบปรามการแสวงประโยชน์ทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ตเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นว่า มีความพยายามโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงการรายงานที่ผ่านมา แม้ว่าจะพิจารณาถึงผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่มีต่อศักยภาพในการปราบปรามการค้ามนุษย์แล้วก็ตาม ทางการเริ่มกระบวนการสืบสวนสอบสวนกรณีการค้ามนุษย์น้อยลง ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาน้อยลง และพิพากษาลงโทษนักค้ามนุษย์น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปี 2562 แม้ว่าจะมีการรายงานอย่างแพร่หลายว่า กลุ่มแรงงานต่างด้าวมักจะถูกบังคับใช้แรงงานในหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่รัฐบาลกลับระบุผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในจำนวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับขอบเขตของปัญหา เจ้าหน้าที่มักจะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และรัฐบาลขาดระเบียบปฏิบัติสำหรับพนักงานตรวจแรงงานในการส่งต่อกรณีต้องสงสัยไปยังเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ทางการไทยไม่เคยรายงานว่า ได้ระบุผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอันเป็นผลมาจากการตรวจสอบเรือประมงที่ท่าเรือ การให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้เสียหายโดยรัฐยังคงไม่เพียงพอ และผู้เสียหายบางส่วนซึ่งพักอยู่ในสถานพักพิงของรัฐขาดเสรีภาพในการเดินทาง การทุจริตและการสมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่รัฐยังคงขัดขวางความพยายามในการปราบปรามการค้ามนุษย์ และรัฐบาลตัดสินเจ้าหน้าที่รัฐที่สมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมการค้ามนุษย์ว่ามีความผิดจำนวน  5 รายในปี 2563 ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงถูกลดระดับมาอยู่ใน “กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง”

ประวัติข้อมูลการค้ามนุษย์

ดังที่มีการรายงานตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นักค้ามนุษย์แสวงประโยชน์จากผู้เสียหายชาวไทยและชาวต่างชาติในประเทศไทย และจากผู้เสียหายชาวไทยในต่างประเทศ นักค้ามนุษย์ด้านแรงงานและทางเพศแสวงประโยชน์จากผู้หญิง ผู้ชาย บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และเด็กจากประเทศไทย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ ศรีลังกา รัสเซีย อุซเบกิสถาน และประเทศในทวีปแอฟริกาบางประเทศ นอกจากนี้ ชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทย ยังประสบกับการถูกกระทำมิชอบหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าเป็นการค้ามนุษย์ รัฐบาลเกาหลีเหนืออาจบังคับให้ประชาชนของตนทำงานในไทย เด็กจากประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชาเป็นผู้เสียหายจากค้ามนุษย์ทางเพศในสถานค้าประเวณี สถานอาบอบนวด บาร์ ร้านคาราโอเกะ โรงแรม และบ้านพักส่วนบุคคล นักค้ามนุษย์ชักจูงเด็กหญิงและเด็กชายชาวไทยให้แสดงกิจกรรมทางเพศผ่านทางวิดีโอและภาพถ่ายบนอินเทอร์เน็ต บางครั้งโดยการขู่ว่าจะเผยแพร่ภาพลามกของเด็ก นักค้ามนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ต แอปพลิเคชันสำหรับการสนทนาหรือหาคู่ ตลอดจนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ในการล่อลวงเด็กเพื่อค้าประเวณี เด็กในสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้าเสี่ยงต่อการถูกค้ามนุษย์ เด็กที่ครอบครัวตกงานเพราะผลกระทบจากโรคระบาด ซึ่งรวมไปถึงครอบครัวชาวต่างด้าว เสี่ยงต่อการถูกค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เด็กชาวไทยประมาณ 177,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กชาย ใช้แรงงานอยู่ในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาคการเกษตร บริการร้านรับซ่อมยานยนต์และบริการอื่น ๆ การก่อสร้าง การผลิต และในงานด้านบริการ เด็กเหล่านี้เสี่ยงที่จะตกอยู่ในสภาพการทำงานที่บ่งชี้ว่าเป็นการบังคับใช้แรงงาน มากกว่าครึ่งของแรงงานเด็กไม่ได้เข้าศึกษาในโรงเรียน และหลายคนต้องเผชิญสภาพการทำงานที่เป็นอันตราย ชั่วโมงการทำงานที่ยาวและไม่ปกติ ตลอดจนเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ทางเพศ บิดามารดาหรือนายหน้าบางรายบังคับเด็กชาวไทย กัมพูชา และพม่าให้ขายดอกไม้หรือสินค้าอื่นตามถนน ตลอดจนให้เด็กขอทานหรือทำงานรับใช้ตามบ้านในเขตเมือง และยังพบผู้สูงอายุและผู้พิการจากกัมพูชาที่ถูกบังคับใช้ขอทานในไทยด้วย

นักค้ามนุษย์บังคับผู้เสียหายชาวไทยให้ใช้แรงงานและค้าประเวณีในประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง ผู้หญิงและบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศชาวไทยถูกแสวงประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ จากการค้ามนุษย์เพื่อการบังคับค้าประเวณีในสวิตเซอร์แลนด์ บุคคลสัญชาติไทยที่เดินทางไปหาครอบครัวที่นอร์เวย์เสี่ยงต่อการถูกค้ามนุษย์ทางเพศและด้านแรงงาน นักค้ามนุษย์บังคับให้ชายและหญิงชาวไทยใช้แรงงานในภาคการเกษตรที่อิสราเอล โดยแรงงานมีชั่วโมงการทำงานที่ยาว ไม่มีช่วงพักหรือวันหยุด ถูกยึดหนังสือเดินทาง และเปลี่ยนนายจ้างได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงาน มีคนไทยประมาณ 185,000 คนทำงานในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีนักค้ามนุษย์บังคับชายและหญิงชาวไทยให้ใช้แรงงานหรือค้าประเวณี ด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมไปถึงการบังคับให้ผู้เสียหายที่ติดหนี้เจ้าของสถานบันเทิงหรือผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบนั้น ค้าประเวณี

นักค้ามนุษย์และผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองที่ดำเนินการในพม่าและไทยเรียกค่าจ้างประมาณ 10,000-70,000 บาท (334-2,340 เหรียญสหรัฐ) กับแรงงานชาวพม่าเพื่อให้ลักลอบพาเข้าไทย ผู้สังเกตการณ์รายงานว่า เครือข่ายลักลอบขนคนเข้าเมืองเหล่านี้มีตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นซึ่งมีส่วนรู้เห็นคอยหนุนหลัง ในช่วงต้นปี 2563 แรงงานต่างด้าวประมาณ 60,000-200,000 คนเดินทางออกจาประเทศไทยทั้งก่อนหน้าและภายหลังการปิดพรมแดนเพื่อรับมือโรคระบาด ภายหลังแรงงานกลุ่มดังกล่าวจำนวนมากเดินทางกลับไทยโดยผิดกฎหมายตลอดปี 2563 และมักจ่ายค่าจ้างให้นักลักลอบขนคนเข้าเมืองพากลับมา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกบีบบังคับเพราะตกเป็นหนี้ นักลักลอบขนคนเข้าเมือง นายหน้า นายจ้าง และบุคคลอื่นแสวงประโยชน์จากแรงงานชาวไทยและชาวต่างด้าวด้วยการค้ามนุษย์ด้านแรงในภาคการประมงพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมสัตว์ปีก อุตสาหกรรมการผลิต ภาคการเกษตร งานรับใช้ตามบ้าน และการขอทานตามถนน แรงงานจำนวนมากจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงให้กับนายหน้า สำนักงานจัดหางาน และบุคคลอื่นก่อนและหลังเดินทางถึงประเทศไทย บ่อยครั้งนักค้ามนุษย์บังคับใช้แรงงานผู้เสียหายโดยบีบบังคับเพราะผู้อพยพติดหนี้อยู่ ตลอดจนใช้กระบวนการการจ้างงานที่หลอกหลวงแรงงาน การยึดเอกสารประจำตัวและบัตรเอทีเอ็ม การหักค่าจ้างโดยผิดกฎหมาย ความรุนแรงต่อร่างกาย และวิธีการอื่น ๆ กับผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงาน นายจ้างยึดเอกสารประจำตัวของแรงงานเพื่อบังคับให้พวกเขาไม่เปลี่ยนงาน ซึ่งพบได้บ่อยในสวนทำเกษตร นอกเหนือจากการจ่ายค่าตอบแทนต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำและไม่ให้แรงงานมีวันหยุด คนงานในภาคการแปรรูปอาหารทะเลและภาคการประมงต้องเผชิญกับการบังคับให้ทำงานล่วงเวลามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการอาหารทะเลที่สามารถเก็บรักษาโดยไม่ต้องแช่เย็นได้มากขึ้นระหว่างการเกิดโรคระบาดใหญ่ และยังต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยด้วย

เจ้าของเรือประมง นายหน้า และลูกเรืออาวุโสบังคับใช้แรงงานชายและเด็กชายชาวไทย พม่า กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย บนเรือจับปลาที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ บางคนได้รับค่าจ้างเพียงเล็กน้อยหรือได้รับไม่สม่ำเสมอ เป็นหนี้นายหน้าและนายจ้าง ทำงานมากถึง 18-20 ชั่วโมงต่อวันตลอดทั้งสัปดาห์ และไม่มีอาหาร น้ำ หรือเวชภัณฑ์ที่เพียงพอ ไต้ก๋งบางรายข่มขู่ เฆี่ยนตี และวางยาชาวประมงเพื่อให้ทำงานได้นานขึ้น รวมทั้งขายยาให้ชาวประมงเพื่อทำให้พวกเขาเป็นหนี้มากขึ้น ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์บางรายในภาคการประมงประสบปัญหาในการเดินทางกลับบ้านเกิดเนื่องจากสถานที่ทำงานอยู่ห่างไกล ไม่ได้รับค่าจ้าง และไม่มีเอกสารประจำตัวที่ถูกกฎหมาย หรือไม่มีวิธีเดินทางกลับบ้านของตนได้อย่างปลอดภัย นายจ้างในภาคการประมงและการแปรรูปอาหารทะเลมักจะดำเนินการหักค่าจ้างด้วยวิธีการที่สร้างความสับสน โดยอ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียมเอกสาร เงินล่วงหน้า และค่าดำเนินการอื่น ๆ ทำให้เป็นเรื่องยากที่แรงงานจะทราบถึงจำนวนค่าจ้างที่ถูกต้องของตน การศึกษาวิจัยหลายฉบับที่ตีพิมพ์ในปี 2562 และ 2563 พบว่า ร้อยละ 14 ถึง 18 ของแรงงานประมงต่างด้าวถูกแสวงประโยชน์โดยการบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมการประมงไทย ซึ่งบ่งชี้ว่านักค้ามนุษย์แสวงประโยชน์จากแรงงานนับหลายพันคนบนเรือประมง

การทุจริตยังคงเป็นเหตุบ่อนทำลายความพยายามในการต่อต้านและปราบปรามการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่รัฐบางรายมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชญากรรมการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงการรับสินบนหรือกู้ยืมเงินจากเจ้าของกิจการและสถานค้าประเวณีที่ซึ่งผู้เสียหายถูกแสวงประโยชน์ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่ทุจริตอำนวยให้มีการค้ามนุษย์โดยรับสินบนจากนายหน้าและผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองตามแนวชายแดนไทย มีรายงานที่น่าเชื่อถือระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่ฉ้อฉลบางรายปกป้องสถานค้าประเวณี สถานบริการทางเพศอื่น ๆ เจ้าของโรงงาน และเจ้าของเรือประมงจากการบุกตรวจค้น การตรวจสอบ และการดำเนินคดี อีกทั้งยังสมรู้ร่วมคิดกับนักค้ามนุษย์ มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องถิ่นบางรายปิดบังข้อมูลจากพนักงานอัยการเพื่อปกป้องนักค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่รัฐบางรายได้รับประโยชน์จากสินบนและจากการมีส่วนพัวพันโดยตรงในการขู่กรรโชกและแสวงประโยชน์จากผู้อพยพ

ที่มา: สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย

 

 

อ่านเพิ่มเติม: รีวิวโบรกเกอร์

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด