30 C
Thailand
วันพุธ, เมษายน 17, 2024
- Advertisement -spot_img

เงินเฟ้อไทยเดือนตุลาคม 2565 ปรับลดลงมาเหลือ 5.9% ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

เงินเฟ้อไทยเดือนตุลาคม 2565 ปรับลดลงมาเหลือ 5.9% : CPI ไทยลดลงมา 2 เดือนติดต่อกันแล้ว และยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง “อัตราเงินเฟ้อในเดือนต.ค.นี้ เพิ่มขึ้น 5.98% เป็นการชะลอตัวลงต่อเนื่องติดต่อกัน 2 เดือน และ สนค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ (พ.ย.-ธ.ค.) ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง”

พาณิชย์เผยตัวเลขเงินเฟ้อ เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 5.9% ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ผลพวงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและอาหารปรับตัวลดลง คาดทั้งปี 65 เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 6% ขณะดัชนีราคาผู้ผลิตชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง และเงินบาทที่อ่อนค่า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค(เงินเฟ้อ)ของไทย เดือนตุลาคม 2565 เท่ากับ 108.06 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.96 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.98 (YoY) น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา (ก.ย.)ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.41 (YoY) โดยชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

ทั้งนี้มีปัจจัยจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าในกลุ่มอาหาร จากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยกันดูแลค่าครองชีพของประชาชน รวมถึงการกำกับ ดูแลและควบคุมราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของหลายประเทศ (ข้อมูลล่าสุด ณ ก.ย.2565) ยังคงอยู่ในระดับสูง และสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งประเทศในอาเซียน อาทิ ลาว สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และประเทศสำคัญ อาทิ สหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมนี และอินเดีย รวมถึงสหรัฐอเมริกา

ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะชะลอตัว ตามราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพหลายรายการที่ชะลอตัวลง และบางรายการราคาทรงตัวแม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย จะส่งผลให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อของไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่อุปทานยังตึงตัว อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออก การท่องเที่ยว และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ยังอยู่ในระดับดี รวมถึงเงินบาทที่ยังอ่อนค่า ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

 

Bloomberg เตือนว่า สกุล “เงินบาท” ของไทย และดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นสกุลเงินที่มีความเสี่ยงอ่อนค่ามากที่สุดในเอเชีย หากจีนขยายการล็อกดาวน์ : เงินบาทและสิงคโปร์ดอลลาร์ เป็น 2 สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กับค่าเงินหยวนมากที่สุด และหากหยวนอ่อนค่าต่อเนื่องจากการปิดล็อคดาวน์ ก็จะโดนกระทบมากที่สุด

 

 

ข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ 

 

exness รีวิว

อ่าน: รีวิวโบรกเกอร์

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด