ประเภทโบรกเกอร์ Forex (Type of Broker)
ประเภทโบรกเกอร์ Forex : No Dealing Desks โดยโบรกเกอร์ประเภทนี้จะนำคำสั่งของลูกค้ายิงเข้าสู่ตลาดจริงโดยตร
ประเภทโบรกเกอร์ Forex (Type of broker)
ประเภทโบรกเกอร์ Forex
ประเภทโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง ?
โบรกเกอร์ ก็คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับส่งคำสั่งของเราเข้าไปสู่ตลาด Forex โดยโบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.Dealing Desk (DD) หรือที่เรียกว่า Market Maker คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา ในส่วนของการเป็น Market Maker นั้นคือการเป็นโบรกเกอร์ที่มีปริมาณวอลุ่มเพียงพอต่อการซื้อขายให้ลูกค้าทุกคน อีกทั้ง Market Maker คือ บริษัททางการเงินที่พร้อมซื้อหรือขายสินทรัพย์ทางการเงินที่ราคาเปิดใดก็ตามในระยะยาว ในฐานะผู้ดูแลสภาพคล่อง
ผู้ดูแลสภาพคล่อง คือบริษัททางการเงินที่พร้อมซื้อหรือขายสินทรัพย์ทางการเงินที่ราคาเปิดใดก็ตามในระยะยาว ในฐานะผู้ดูแลสภาพคล่อง บริษัทหรือบุคคลเหล่านี้จะ “ทำ” การซื้อขายในตลาดด้วยการร่วมทำธุรกรรมโดยตรงในฐานะผู้ขายหรือผู้ซื้อ
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ดูแลสภาพคล่องมีหน้าที่สามอย่าง
- ตั้งราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายภายในคู่สกุลเงินที่กำหนด
- ให้คำมั่นที่จะยอมรับราคาเหล่านี้โดยมีข้อกำหนดเฉพาะ (เลเวอเรจ สเปรด เป็นต้น)
- ผู้ดูแลสภาพคล่องสามารถทำ hedging คำสั่งซื้อขายของตนเองเพื่อบรรเทาความเสี่ยง แต่มีวิธีจัดการคำสั่งซื้อขายให้เลือกหลายวิธี
ผู้ดูแลสภาพคล่องมีหน้าที่สำคัญในการสร้างสภาพคล่อง ซึ่งถือเป็นเสาหลักในการสร้างตลาดฟอเร็กซ์ ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมในตลาดรายอื่นๆ สามารถซื้อหรือขายหุ้น สกุลเงิน ฟิวเจอร์ส และเครื่องมือการซื้อขายอื่นๆ ได้อย่างหลากหลายที่ราคาเปิดใดก็ตาม ธุรกรรมของผู้ดูแลสภาพคล่องคิดเป็นสัดส่วนสูงเทียบกับปริมาณการเทรดฟอเร็กซ์ทั้งหมด ทำให้มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน
ผู้ดูแลสภาพคล่องมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นคู่ธุรกรรม ซึ่งหมายถึงผู้ดูแลสภาพคล่องจะจับคู่กิจกรรมการซื้อและขายระหว่างลูกค้า โดยมักจะทำกำไรจากสเปรดเท่านั้น
ผู้ดูแลสภาพคล่องที่มีชื่อเสียงรายใหญ่ที่สุดถือเป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ในตลาด อันได้แก่ Deutsche Bank, Barclays Capital, UBS AG เป็นต้น ในการกำหนดว่าธนาคารหนึ่งเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องหรือไม่นั้น สัดส่วนปริมาณการซื้อขายโดยรวมของธนาคารดังกล่าวมีความสำคัญมากกว่าเงินทุนทั้งหมด นั่นหมายความว่าสิ่งที่สำคัญคือความสามารถอันแท้จริงของธนาคาร ในการมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดด้วยการเสนอราคาซื้อและราคาขาย แม้แต่บริษัททางการเงินขนาดเล็กและขนาดกลางก็สามารถเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดฟอเร็กซ์ได้ แต่ผู้ดูแลสภาพคล่องรายใหญ่ที่สุดเท่านั้นที่จะถือเป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ในตลาด
ที่มา: Exness
2.No Dealing Desk (NDD)
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คือ อะไร : No Dealing Desks (NDD) โดยโบรกเกอร์ประเภทนี้จะนำคำสั่งของลูกค้ายิงเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง (ไม่มีการรับออเดอร์ลูกค้าแต่อย่างใด) เป็นเพียงตัวกลางที่จะคอยนำคำสั่งของลูกค้าไปสู่ตลาดจริงหรือที่เรียกกันว่า Interbank market* ซึ่งในนั้นจะมีผู้เล่นจริงๆ ทั้งธนาคาร , กองทุน , โบรกเกอร์ , Hedge fund , ลูกค้าจากที่ต่างๆ ที่เทรดค่าเงินจริงๆกันอยู่แล้ว ซึ่งตลาดนี้เองที่เป็นแหล่งอ้างอิงในการกำหนดมูลค่าของค่าเงินต่างๆที่โชว์ให้เราเห็นตามที่ต่างๆทั่วโลก โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คือ อะไร
โบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน สามารถแยกย่อยได้อีก คือ
2.1 Straight Through Processing (STP) คือวิธีการจัดการการเทรดฟอเร็กซ์ กำหนดเส้นทางโดยตรงผ่านเซิร์ฟเวอร์ของโบรกเกอร์ไปถึงผู้ให้บริการสภาพคล่องโดยตรงซึ่งไม่ต้องเข้าใหม่ และไม่มีการแทรกแซงจาก dealing desk (แผนกควบคุมคำสั่ง) กระบวนการ STP ลดระยะเวลาการเทรดและรับรองให้เทรดเดอร์ได้รับราคาที่ดีกว่า นอกจากนี้ยังช่วยลด slippage และรีโควตด้วย.
2.2 Electronic Communication Network4 + Straight Through Processing (ECN+STP) คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร
NDD มีความหมายว่าโบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน (ไม่ส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) คือไม่ผ่านห้องตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า) ซึ่งหมายความว่าโบรคเกอร์นั้นไม่ได้หาผลประโยชน์ทางด้านอื่นในการเทรดของลูกค้าเลย ที่โบรคเกอร์ทำก็เพียงแค่เชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันเท่านั้น
โบรกเกอร์ NDDs จึงเป็นเหมือนผู้สร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองที่ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยตรง โดยโบรกเกอร์ NDDs จะมีรายได้จากการเรียกเก็บค่านายหน้าที่มีขนาดเล็กมากสำหรับแต่ละการซื้อขาย หรือคิดแค่ค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย
แต่…ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดที่ไม่คงที่และอาจจะมีค่าคอมมิชชั่น แล้วค่าบริการต่างๆที่อาจจะมีราคาสูงกว่าแบบ Dealing Desk (DD) ครับ
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร forex
ถ้าเป็นแบบนี้จะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี?
โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกให้ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง หรือประเมินจากการยอมรับได้ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวของเราเอง อย่างเช่น ประเภท Dealing Desk (DD) ก็จะมีค่าบริการที่ค่อนข้างถูกและสเปรดคงที่ และประเภท No Dealing Desk (NDD) ก็จะมีค่าบริการค่อนข้างสูงกว่าแต่ก็ได้รับบริการที่สูงกว่า และความปลอดภัยที่มากกว่า มาชดเชยครับ
แต่อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องเข้าไปดูเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทด้วยนะครับว่าเป็นอย่างไร และมีความน่าเชื่อถือสูงไม เพราะบางทีโบรกเกอร์บางบริษัทในรูปแบบประเภท Dealing Desk (DD) อาจจะมีความน่าเชื่อถือกว่าโบรเกอร์บางบริษัทที่เป็นประเภท NDD ด้วยซ้ำไปครับ
ปัจจุบันนี้ มีโบรกเกอร์ต่างๆมากมายเกิดขึ้นทำให้มีการแข่งขันกันอย่างมาก ดังนั้น โบรกเกอร์ต่างๆก็พยายามทำให้ตัวเองมีข้อดี มีจุดเด่นเยอะๆ เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า และถ้ามีข้อเสียมากเท่าไหร่ลูกค้าก็จะยิ่งมีน้อยลงไปเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้การสมัครโบรกเกอร์ ตลอดจนกระทั่งการยืนยันตัวตนนับเป็นเรื่องง่ายๆแล้ว
ประโยชน์ของการเลือกโบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD)
1.ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ข้อแรกของการใช้ NDD คือ เราสามารถทำคำสั่งซื้อหรือขายไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเร็วตรงนี้มีผลโดยตรงต่อการเทรด forex เพราะยิ่งถ้าเป็นช่วงที่ตลาดมีการแกว่งตัวแรงๆ ถ้าเราสามารถเข้าไปเทรดได้ทัน นั่นหมายความว่าเราสามารถทำเงินและทำกำไรได้เร็วกว่ามากกว่า หรือรีบตัดการขาดทุนได้เร็วกว่าโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่ NDD ครับ
2.ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง
ข้อนี้จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เรานั้นสามารถเลือกกลยุทธ์ในการทำการตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากราคาที่มีความใกล้เคียงกับราคาจริงมากๆนั่นเอง ถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่เป็นแบบ NDD แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถทำลักษณะแบบนี้ได้ คำว่าราคาที่ใกล้ความจริง หมายความว่า ตลาดกลางจริง ๆ ซึ่งถ้าหากเราเปิดราคาของค่าเงินแต่ละที่ก็จะมีควาแตกต่างกันครับ เพราะว่าแต่ละ Broker ได้บวกค่าดำเนินการและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไว้แล้ว หรือแม้แต่ธนาคารเวลาเราไปรับแลกเงินก็จะมีเหตุการณ์อย่างนี้ด้วยเช่นกัน
3.ค่าเสปรดมีการแกว่งตัวหลายแบบ
ข้อดีต่อมาคือเรื่องของค่า สเปรดที่มีการแกว่งตัวหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะ และช่วงเวลาของการเทรด หลักการง่ายๆคือ ถ้าช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้าทำการเทรด forex ในคู่เงินนั้นน้อยๆ
ก็จะทำให้ค่าตัวนี้มีราคาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ก็จะทำให้มีราคาต่ำเช่นกัน จึงสามารถประยุกต์ข้อมูลตรงนี้ในการวางแผนการเทรดได้ อย่างเช่น การชิพไปเทรดในคู่เงินที่มีสเปรดต่ำๆ ครับ
หรืออาจจะมีทางเลือกรอให้ช่วง Spread ที่มีการแกว่งตัวลดลง เพราะว่า สาเหตุของการแกว่งตัวหลายรูปแบบของ Spread นั้นอาจจะมาจากข่าวของค่าเงินก็เป็นได้ครับ
การดำเนินการคำสั่งซื้อขายมี 2 ประเภทหลักๆ เมื่อส่งคำสั่งซื้อขายบนแพลตฟอร์มการซื้อขายใดๆ ก็ตาม ซึ่งโดยปกติจะตั้งค่าไว้ล่วงหน้าสำหรับเครื่องมือทางการเงินที่กำหนด และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของการดำเนินการคำสั่งซื้อขาย และคุณสมบัติของการดำเนินการแต่ละประเภทกัน
- Instant Execution (การดำเนินการทันที)
- Market Execution (การดำเนินการด้วยราคาตลาด)
- การเปรียบเทียบ: การดำเนินการทันทีกับการดำเนินการด้วยราคาตลาดการดำเนินการทันทีเป็นวิธีซึ่งโบรกเกอร์ดำเนินการคำสั่งซื้อขายตามราคาที่เทรดเดอร์ต้องการ หรือปฏิเสธการดำเนินการคำสั่งซื้อขายดังกล่าว หรืออธิบายได้ว่า หากราคาของเครื่องมือทางการเงินเปลี่ยนแปลงขณะที่คุณส่งคำสั่งซื้อขาย โบรกเกอร์จะส่งข้อความแจ้ง (รีโควต) ให้คุณยืนยันว่าคุณยอมรับราคาที่เปลี่ยนแปลงใหม่มาดูตัวอย่างง่ายๆ กันเทรดเดอร์รายหนึ่งต้องการส่งคำสั่ง Buy สำหรับคู่สกุลเงิน EURUSD ในบัญชี Pro ซึ่งให้บริการการดำเนินการทันที เมื่อเขาคลิก Buy ในแพลตฟอร์มการซื้อขาย ราคาอยู่ที่ 1.21701/1.21727 เนื่องจากเป็นการดำเนินการทันที คำสั่งซื้อขายจะเปิด ณ ราคาที่ลูกค้าร้องขอเท่านั้น หรือปฏิเสธการดำเนินการคำสั่งซื้อขายดังกล่าว ดังนั้น คำสั่ง Buy จะเปิดที่ราคา Ask นั่นคือ 1.21727ตอนนี้ เรามาพิจารณาสถานการณ์ที่มีความผันผวนของตลาดสูงและราคาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก 1.21701/1.21727 เป็น 1.21715/1.21738 เมื่อเทรดเดอร์คลิก Buy เทรดเดอร์จะเห็นรีโควตบนหน้าจอให้ยืนยันราคาที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ข้อความแจ้งนี้จะแสดงบนหน้าจอ 3 วินาที หากเทรดเดอร์ยอมรับราคาดังกล่าว คำสั่งซื้อขายจะถูกดำเนินการด้วยราคาใหม่ แต่หากเทรดเดอร์ปฏิเสธราคาใหม่หรือเพิกเฉยต่อรีโควต คำสั่งซื้อขายดังกล่าวจะถูกยกเลิก
Market Execution (การดำเนินการด้วยราคาตลาด)
การดำเนินการด้วยราคาตลาดเป็นวิธีซึ่งเทรดเดอร์เปิดคำสั่งซื้อขายที่ราคาปัจจุบันภายในเสี้ยววินาที ด้วยวิธีดำเนินการนี้ ราคาอาจสูงหรือต่ำกว่าราคาที่แสดงในหน้าต่างเทอร์มินัล เนื่องจากราคามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ข้อดีของวิธีการนี้คือ เป็นการดำเนินการคำสั่งซื้อขายที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้ 100%
มาดูตัวอย่างกัน
เทรดเดอร์รายหนึ่งต้องการส่งคำสั่ง Buy สำหรับคู่สกุลเงิน EURUSD ในบัญชี Standard ซึ่งให้บริการการดำเนินการด้วยราคาตลาด เมื่อเขาคลิก Buy ในแพลตฟอร์มการซื้อขาย ราคาอยู่ที่ 1.21705/1.21735 แต่เปลี่ยนเป็น 1.21719/1.21740 อย่างรวดเร็ว ระบบจะเปิดคำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ ณ ราคา Ask ใหม่ที่ 1.21740 โดยไม่มีการร้องขอการยืนยันใดๆ การที่ราคาเปลี่ยนไปเป็นราคาอื่นเรียกว่า Slippage (ราคาคลาดเคลื่อน) และเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อใช้การดำเนินการคำสั่งซื้อขายประเภทนี้
การเปรียบเทียบ: การดำเนินการทันทีกับการดำเนินการด้วยราคาตลาด
ข้อแตกต่างอย่างหนึ่งที่สำคัญระหว่างการดำเนินการด้วยราคาตลาดและการดำเนินการทันที คือคุณจะไม่ได้รับรีโควตสำหรับการดำเนินการด้วยราคาตลาด อย่างไรก็ตามในช่วงที่ตลาดมีการผันผวนสูง การดำเนินการด้วยวิธีการนี้ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นเนื่องจากราคาอาจมีความผันผวนมากในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
มาดูตารางเปรียบเทียบกัน
Instant Execution (การดำเนินการทันที) | Market Execution (การดำเนินการด้วยราคาตลาด) |
---|---|
อาจมีรีโควต | ไม่มีรีโควต |
การดำเนินการขึ้นอยู่กับราคาที่มีในตลาด | คำสั่งซื้อขายได้รับการดำเนินการแน่นอน |
สามารถควบคุมความผันผวนและ slippage | มีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากความผันผวนและ slippage |
ที่มา: Exness
Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168