33.4 C
Thailand
วันศุกร์, เมษายน 19, 2024

Slippage คืออะไร? Slippage เกิดขึ้นได้ยังไง?

Slippage คืออะไร

Slippage คืออะไร? Slippage เกิดขึ้นได้ยังไง?

ความหมาย Slippage  

“โดยปกติ เทรดเดอร์มักจะคิดว่า ราคาขึ้นไปไล่ระดับเช่น 1,2,3,4,5 แต่เหตุการณ์ที่เกิด Slippage ราคาจะไม่ได้เรียงลำดับเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับ Volume ในตลาด ณ ขณะนั้น จาก 1 อาจจะเข้าไป 10 เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่า Slippage “

Slippage หมายถึงความต่างของราคาที่ลูกค้าส่ง (Buy or Sell Signal) และราคาที่ถูกดำเนินการจริง (Executed Price) โดยปกติแล้วโบรกเกอร์จะนำคำสั่งของลูกค้ายิงเข้าสู่ตลาดจริงซึ่งในตลาดก็จะมีทั้ง โบรกเกอร์,หุ้น,future และนักลงทุน ซึ่งแต่ละโบรกเกอร์เองก็จะมีวิธีการจับคู่ออเดอร์คำสั่งของลูกค้าเป็นของตัวเองตามแต่ละประเภทโบรกเกอร์ ในภาวะที่ตลาดมีความเสถียรและไม่มีข่าวสารสำคัญใดๆ มาส่งผลกระทบ การเคลื่อนไหวของราคาก็จะไม่คลาดเคลื่อนแต่ในภาวะที่เกิดข่าวสารสำคัญขึ้นในตลาดหรือปัจจัยใดๆ ที่มีผลต่อความต้องการซื้อหรือความต้องการขายในช่วงนั้นๆ และไม่เกิดสมดุล เช่น ปริมาณความต้องการซื้อมากกว่า ปริมาณความต้องการขายในช่วงนั้นๆ เป็นจำนวนมาก ราคาที่เราส่งไปนั้นกับราคาที่ถูกดำเนินการจริงก็จะมีความคลาดเคลื่อน จากการที่ระบบส่งออเดอร์คำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายของเราไปแล้วไม่สามารถจับคู่คำสั่งซื้อหรือคำสั่งขาย ณ ราคานั้นได้ เนื่องจากราคามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Slippage เกิดขึ้นได้ยังไง

Slippage อาจเกิดจากหลายๆสาเหตุเช่น สภาพคล่องของหุ้นที่ต่ำ, สภาวะตลาดที่ผิดปกติ หรือข่าวที่เป็นด้านบวกหรือด้านลบมากๆที่เข้ามาระหว่างวัน ทำให้ราคาเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงหรือเป็นช่วงที่ Liquidity providers ไม่กี่แห่งเปิดทำการ ก็ส่งผลให้คุณมีโอกาสเจอ slippage มากขึ้น

Slippage เป็นสิ่งที่นักลงทุนก็ต้องเคยเจอมาบ้าง นักลงทุนทั่วไปเมื่อเจอครั้งแรกและไม่รู้ความหมายของ Slippage  ก็มักจะนึกว่าโดนโบรกเกอร์หรือผู้ดูแลสภาพคล่องโกง

แนวทางการหลีกเลี่ยง Slippage

1.เทรดในช่วงสภาพคล่องสูง: ช่วยลดความคลาดเคลื่อนของราคาwได้ค่าสเปรดถูกลงในบางประเภทบัญชี

2.หลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงที่มีข่าวสำคัญที่ส่งผลต่อค่าเงินที่เราเล่นเพราะในช่วงนี้ราคาจะผันผวนสูงเกิดการ Slippage ได้ง่าย

3.ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีความเสถียรและแรง: การเลือกใช้อินเตอร์เน็ตที่มีคุณภาพจะส่งผลให้คำสั่งซื้อหรือคำสั่งขาย ณ ราคานั้นๆ ถูกส่งไปถึง Server ของโบรกเกอร์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การเลือก Server เชื่อมต่อให้เลือกค่า Ping ต่ำ ๆ ยังสามารถช่วยลดปัญหาการ Slippage ได้อีกด้วย

4.เปิดบัญชีประเภทที่มีคำสั่งซื้อ Instant Execution ออเดอร์จะถูกดำเนินการตามราคาที่ลูกค้าส่งคำสั่ง หากราคาที่เปิดออเดอร์ตรงกับราคาตลาดในปัจจุบันออเดอร์นั้นก็จะเปิดทันที แต่หากว่าราคาที่ลูกค้าขอเปิดคำสั่งซื้อนั้น ไม่ตรงกับราคาตลาดในปัจจุบัน ลูกค้าจะได้รับ Requote

Slippage จากโบรกเกอร์ต่างๆ

Slippage จากโบรกเกอร์ Exness

Exness

Exness ดำเนินการแบบ Dealing Desk (DD) หรือที่เรียกว่า Market Maker คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา ในส่วนของการเป็น Market Maker นั้นคือการเป็นโบรกเกอร์ที่มีปริมาณวอลุ่มเพียงพอต่อการซื้อขายให้ลูกค้าทุกคน อีกทั้ง Market Maker คือ บริษัททางการเงินที่พร้อมซื้อหรือขายสินทรัพย์ทางการเงินที่ราคาเปิดใดก็ตามในระยะยาว ในฐานะผู้ดูแลสภาพคล่อง

โดยในแต่ละประเภทบัญชีจะมีคำสั่งออเดอร์ที่แตกต่างกัน 

Instant Exceution: อาจเกิดการ requote และ Slippage ได้ (อ่านเพิ่มเติม: รีโควต(requote)คือ? )

Market Execution: จะไม่มีการ Re-quote แต่อาจจะเจอ Slippage , และอาจเกิด off quote ได้เช่นเดียวกัน 

Slippage สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตลาดมีสภาพคล่องไม่เพียงพอตามราคาที่ได้ร้องขอในคำสั่งเทรด Exness ไม่สามารถที่จะรับประกันคำสั่งเทรดแบบมีเงื่อนไขได้ เช่น คำสั่ง Stop Losses, Take Profits, Buy/Sell Stops, Buy/Sell Limit Orders (ประเภทบัญชีคำสั่งซื้อ Market Execution)

  • กรณีของบัญชี Mini

คู่สกุลเงินที่ลงท้ายด้วย m จะเป็น Instant Execution

ส่วนคู่สกุลเงินที่ลงท้ายด้วย k จะเป็น Market Execution

  • กรณีของบัญชี Classic

            คู่สกุลเงินที่แสดงชื่อธรรมดา เป็น Instant Execution

            คู่สกุลเงินที่ลงท้ายด้วย k จะเป็น Market Execution

อ่านเพิ่มเติม:ประเภทโบรกเกอร์ Forex