38.9 C
Thailand
วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
- Advertisement -spot_img

กสทช. ไฟเขียว ‘ควบรวม’ TRUE – DTAC ด้วยมติ 3 ต่อ 2

กสทช. ไฟเขียว ‘ควบรวม’ TRUE – DTAC พร้อมกำหนดเงื่อนไขปฏิบัติตามเพื่อเยียวยาและรักษาผลประโยขน์ของผู้ใช้บริการ : เมื่อวันที่ (20 ตุลาคม 2565) หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณาเรื่องการควบรวมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทย ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และบริษัท โทเทิลแอคเซสคอมมูนิเคชั่น (DTAC) เวลา 20.45 น.

มีรายงานว่าคณะกรรมการ กสทช.มีมติเสียงข้างมาก อนุญาตให้ทั้ง 2 บริษัทควบรวมได้

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการควบรวม เป็นผลมาจากการที่ บริษัทเทเลนอร์ บริษัทโทรคมนาคม บริษัทแม่ของดีแทคถอนการลงทุนจากภูมิภาคทั้งหมด และบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นแสดงความสนใจในการควบรวมกิจการกับดีแทคเดิม โดยมีการยื่นคำขอควบรวมกิจการมาอย่างยาวนาน ท่ามกลางความกังวลจากนักวิชาการและประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งมองว่าหากทั้ง 2 บริษัทสามารถควบรวมกิจการสำเร็จ

ค่าโทรศัพท์มือถือ และค่า Data อาจแพงขึ้น 12-40% และเมื่อมีการผูกขาดของผู้ให้บริการ โอกาสในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลก็จะน้อยลง และเมื่อการแข่งขันน้อยลง แรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ก็จะน้อยตามลงไป อีกทั้งหนึ่งในคณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยียังให้ความเห็นว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยีสามารถทำได้โดยไม่ต้องเกิดการควบรวม

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด (AIS) ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด รองลงมาคือ TRUE และ DTAC

ทั้ง 3 ผู้ให้บริการมีส่วนแบ่งตลาดรวม 97% และหากการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE กับ DTAC สำเร็จ จะทำให้เหลือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เหลือเพียง 2 บริษัทใหญ่ด้วยกัน โดยส่วนแบ่งตลาดอีกประมาณ 3% ที่เหลือเป็นของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการควบรวมระหว่าง CAT กับ TOT ในอดีต

ก่อนหน้านี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เคยให้ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์เกี่ยวกับการควบรวมกิจการในภาพรวมว่า ตลาดโทรศัพท์มือถือของไทยมีโครงสร้างกึ่งผูกขาดอยู่แล้ว ดังนั้น การควบรวมครั้งนี้หากสำเร็จจะทำให้ผูกขาดมากขึ้นถึงระดับอันตราย

“หากการควบรวมสำเร็จ จะเกิดผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เชิงบวกคือผู้ถือหุ้นของบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสองจะได้ประโยชน์ ในขณะที่ผลกระทบเชิงลบจะเกิดกับผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป ธุรกิจต่างๆ รัฐบาล และผู้เสียภาษี รวมทั้งเศรษฐกิจไทยด้วย”
.
สำหรับกลุ่มทรู เดิมมีชื่อว่า ‘เทเลคอม เอเชีย’ เป็นกิจการโทรคมนาคมของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบัน มี ศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ถือหุ้นทั้งสิ้น 13.29% ใกล้เคียงกับ China Mobile International Holding Limited ซึ่งถือหุ้น 13.47%
.
ขณะที่ AIS ผู้ให้บริการรายใหญ่อีกรายนั้น ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มอินทัช โฮลดิงส์ ซึ่งถือหุ้นรวม 40.44% และตามด้วยกลุ่ม Singtel จากสิงคโปร์ ซึ่งเคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก่อนหน้านี้ ถือหุ้น 23.31% สำหรับกลุ่มอินทัชน ปัจจุบัน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นรวม 40.33% และยังมี สารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ก่อตั้งกัลฟ์ เป็นรองประธานคณะกรรมการของ AIS โดยก่อนหน้านี้ สื่อมวลชนและนักลงทุนต่างก็วิเคราะห์ว่ากัลฟ์จะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ กุมบังเหียน AIS ต่อไป หลังจากกัลฟ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของอินทัชแทน Singtel
.
ทั้งนี้ หลังจาก กสทช.อนุมัติให้ควบรวม TRUE และ DTAC แล้ว จำเป็นต้องรอดูเงื่อนไขของการควบรวมต่อไปว่า กสทช.จะกำหนดอย่างไร เพื่อให้ไม่เกิดการผูกขาด เมื่อธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศเหลือผู้แข่งขันเพียง 2 ราย ขณะเดียวกัน หลายคนยังจับตาว่าธุรกิจโทรคมนาคมจะตกอยู่ในมือ ‘เจ้าสัว’ หรือกลุ่มทุนใหญ่ของประเทศหรือไม่ เมื่อข้างหนึ่งคือกลุ่ม CP เจ้าของธุรกิจครบวงจร และอีกข้างหนึ่งคือกลุ่ม GULF เจ้าสัวธุรกิจพลังงาน นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของทั้ง 2 ฝ่าย ต่างก็เป็นบุคคลที่รวยที่สุดติดอันดับ 1 และอันดับ 2 ของประเทศ

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ นักเศรษฐศาสตร์ และคอลัมนิสต์เจ้าของคอลัมน์ Economic Crunch เคยให้สัมภาษณ์กับ The Momentum ว่า งานวิจัยขององค์กรผู้คุมกฎ หรือ Regulator ประเทศอังกฤษ เผยผลสำรวจตลาดโทรคมนาคมใน 25 ประเทศ และอธิบายไว้ว่า ประเทศที่มีผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างน้อย 4 ราย จะมีราคาสินค้าและการให้บริการถูกกว่าประเทศที่มีผู้ให้บริการ 3 รายราว 20%

สำหรับประเทศไทย จากผู้ให้บริการ 3 รายลดลงมาเหลือ 2 รายนั้น ในระยะสั้นยังตอบได้ยากถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น อาจต้องรออย่างน้อยเป็นเวลา 4-5 ปี

“ต้องเทียบว่ามาตรฐานค่าบริการเริ่มต้นหนึ่งนาที หรือราคาการให้บริการมาตรฐานจากเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังควบรวม เพราะไม่มีบริษัทใดบนโลกที่กล้าเปลี่ยนแปลงค่าบริการให้แพงขึ้นอย่างโจ่งแจ้ง แต่ในทางกลับกัน จะทำให้เกิดสภาวะการแข่งขันในตลาดที่ลดลดลง ส่วนแบ่งกำไรที่ควรจะมีการแย่งชิงเปลี่ยนแปลงตามความพึงพอใจของผู้บริโภค ก็จะไปขึ้นอยู่กับทางตัวบริษัทผู้ให้บริการแทน

“หากมีผู้ให้บริการลดน้อยลง และตัวผู้บริโภคเองต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม 10% หรือ 20% ก็ไม่ได้หมายความว่าการแข่งขันของตลาดธุรกิจนั้นจะพังทันที ทว่าในที่สุด ผลเสียที่สุดจะเกิดขึ้นกับตัวผู้บริโภค”

อย่างไรก็ตาม ซิกเว เบรกเก (Sigve Brekke) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ DTAC เคยกล่าวในงานแถลงข่าวออนไลน์ภายใต้หัวข้อ ‘Equal Partnership For Thailand’s Digital Transformation’ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ว่า ในปัจจุบันธุรกิจโทรคมนาคมไม่ใช่เพียงธุรกิจที่ผู้ให้บริการเพียงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือด้านการติดต่อสื่อสารเท่านั้น ทว่าอินเทอร์เน็ต 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แม้กระทั่งอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (Internet of things) หรือการที่อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ด้วย นั่นหมายความว่าคู่แข่งในการทำธุรกิจไม่ได้มีเพียงบริษัทที่ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกต่อไป แต่ยังมีแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Google หรือ Microsoft ด้วย

“ดังนั้น DTAC จึงต้องปรับตัวเองเป็นบริษัทด้าน Telecom-Tech Company เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ และการร่วมมือกับ TRUE จะช่วยทำให้บริษัทมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อยกระดับเทคโนโลยีในประเทศไทยให้ขึ้นไปอยู่แถวหน้าในระดับประเทศได้”

 

ข้อมูลจาก : KSecurities

exness รีวิว

อ่านเพิ่มเติม: รีวิวโบรกเกอร์

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

เปิดบัญชี Forex เพื่อรับโบนัสเทรด

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168

 

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด