25.2 C
Thailand
วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
- Advertisement -spot_img

Meta ขู่ปิดบริการ ‘Facebook-IG’ ในยุโรป หากไม่สามารถเดินหน้าการโอนถ่ายข้อมูลข้ามทวีปได้ต่อ

Meta ขู่ปิดบริการ ‘Facebook-IG’ ในยุโรป ประท้วงกฎหมายแบ่งปันข้อมูลฉบับใหม่ : มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก แห่ง Meta อาจเป็นคนที่ต้องไปแก้ชงก่อนใคร หลังจากที่เจอข่าวร้ายไม่หยุดหย่อน เพราะนอกจากโปรเจกต์พัฒนาเงินคริปโทฯ ที่ชื่อ Libra (ชื่อใหม่คือ Diem) จะพังไม่เป็นท่า และเจอการแข่งขันจาก Tiktok พร้อมการปกป้องข้อมูลจากระบบของ Apple จนผลประกอบการร่วงหนัก ยอดผู้ใช้ชะงัก หุ้นตกกระจายแล้ว ล่าสุด ยังต้องเผชิญกับมรสุมใหญ่ไม่แพ้กันในฝั่ง “ยุโรป” ด้วย
.
ในรายงานของบริษัทที่แจ้งต่อ ก.ล.ต. สหรัฐล่าสุดนั้น Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ได้ส่งสัญญาณเตือนว่า บริษัทอาจจะต้องยุติการให้บริการ Facebook และ Instagram “ในยุโรปทั้งหมด” หากยุโรปยังไล่บี้หนักเรื่องกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค จนส่งผลกระทบให้ Facebook ไม่สามารถโอนข้อมูลผู้ใช้งานในยุโรป ไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์สหรัฐ และทำการยิงโฆษณาเฉพาะกลุ่มได้

Meta ระบุว่า หากไม่สามารถเดินหน้าการโอนถ่ายข้อมูลข้ามทวีปได้ต่อ หรือยังไม่มีทางออกอื่นๆ ที่เหมาะสม บริษัทก็ต้องปิดบริการดังกล่าวในยุโรป โดยย้ำว่า “รายได้สำคัญทั้งหมดของเราตอนนี้ เกิดขึ้นจากการยิงโฆษณาจากแบรนด์ของลูกค้าบนเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม” ซึ่งถือเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของ “ข้อมูลผู้ใช้งาน” เพื่อที่จะให้แพลตฟอร์ม “ยิงโฆษณาได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ”
.
ทั้งนี้ ยุโรปมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ชื่อว่า General Data Protection Regulation” หรือ GDPR ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2018 โดยเป็นเหมือนแม่แบบกฎหมายให้หลายประเทศทั่วโลก และจะส่งผลกระทบต่อ Facebook โดยตรง
.
หลังการรับรองกฎหมายดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้ใช้งานในสหภาพยุโรปจำนวน “มากขึ้นเรื่อยๆ” ที่เลือกปกป้องข้อมูลตัวเองไม่ให้ถูกยิงโฆษณา และผู้ที่เลือกแนวทางนี้จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกหากมาตรการเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้ระบบการยิงโฆษณาของ Facebook มีประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน ซึ่งรายได้จากการโฆษณาบนแพล็ตฟอร์มอย่าง Facebook และ IG ถือเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัท
.
Facebook เคยระบุว่า ในด้านการทำธุรกิจ หากกระบวนการยิงโฆษณาไร้ซึ่งความแม่นยำ จากการที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานได้แล้ว “นักการตลาดทั้งหลายอาจหยุดใช้บริการเรา” หรือ “ลดงบประมาณที่จะใช้กับเรา” ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์มการโฆษณาของ Facebook มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เพื่อนำไปสร้างโฆษณาที่ “เหมาะสมและแม่นยำ” กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ค่อนข้าง “ละเอียดอ่อน” เช่น ความสนใจ หรือพฤติกรรมของผู้ใช้งาน
.
อย่างไรก็ตาม Facebook ก็ยังใช้ “ช่องโหว่” ทำธุรกิจเหมือนเดิมตามปกติต่อไป ภายใต้ข้อตกลงการค้า “Privacy Shield” ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐและคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเปิดทางให้ถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์สหรัฐได้ หากประเทศปลายทางสามารถการันตีความปลอดภัยของข้อมูลผู้บริโภคยุโรปได้
.
แต่ในเดือนกรกฎาคม ปี 2020 ศาลยุติธรรมยุโรป (Court of Justice of the European Union) ตัดสินว่าความร่วมมือดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างหนึ่งของอุสรรคด้านข้อกฎหมายที่ Meta กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้
.
ทั้งนี้ สถิติจาก Statista รายงานว่า จำนวนผู้ใช้งานต่อวันของ เฟซบุ๊ก ไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 มีจำนวน 427 ล้านคน หรือมากถึงเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้งานทั้งหมด ที่มีจำนวน 1.93 พันล้านคน หากจำนวนผู้ใช้เหล่านี้หายไป อาจส่งผลกระทบต่อทั้งบริษัท Meta รวมถึงธุรกิจน้อยใหญ่ที่ใช้ เฟซบุ๊ก เป็นช่องทางการสื่อสาร และเครื่องมือทางการตลาด
.
หากความกดดันทางด้านข้อกฎหมายของสหภาพยุโรป ทำให้ Meta ต้องยุติการให้บริการในสหภาพยุโรปจริง อาจส่งผลกดดันให้หุ้นเฟซบุ๊ก มีสภาพย่ำแย่ลงไปอีก หลังก่อนหน้านี้หุ้นเฟซบุ๊กดิ่งลง 26.4% ในวันที่ 3 ก.พ. 65 จากแรงกดดันของแพลตฟอร์มน้องใหม่ “TikTok” แรงกดดันเรื่องการปกป้องข้อมูลของ Apple และจำนวนผู้ใช้งานต่อวันที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา
.
ทั้งนี้ การไล่บี้กันระหว่าง Facebook และรัฐบาลในยุโรปนั้น ถือเป็น “มหากาพย์” เรื่องยาว ซึ่งอาจสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้
ยุโรปมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคที่ชื่อว่า GDPR มาตั้งแต่ปี 2016 และมีผลบังคับใช้ในปี 2018 หลักๆ คือเพื่อคุ้มครองไม่ให้เอกชนเอาข้อมูลผู้บริโภคไปใช้ประโยชน์มากเกินไปโดยผู้บริโภคไม่ได้รู้เห็น/ยินยอม เช่น การขายข้อมูลให้บุคคลที่ 3 เพื่อการยิงแอดโฆษณาตรงเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย และยุโรปยังห้ามการย้ายข้อมูลออกจากยุโรปไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ หากไม่สามารถรับประกันได้ว่ามีการปกป้องข้อมูลนั้นมากเพียงพอ
.
นอกจากการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคแล้ว ในอีกแง่หนึ่งยังเป็นการกดดันให้บริษัทเทคโนโลยีสหรัฐ แก้ปัญหาด้วยการเข้าไปตั้งบริษัทในยุโรปแทนด้วย เหมือนที่ Apple และ Google ทำมาแล้ว ซึ่งยุโรปจะได้ทั้งในแง่การกำกับดูแลและในแง่ภาษี
.
แต่ Facebook ใช้ช่องโหว่จากข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐ-ยุโรป เช่น ข้อตกลง “Privacy Shield” เกี่ยวกับ Transatlantic data transfers ทำให้ยังคงถ่ายโอนข้อมูลในยุโรป ไปจัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐ และยังสามารถทำการยิงแอดต่อ เพราะรายได้จากการโฆษณาของแพล็ตฟอร์ม เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม คือรายได้หัวใจหลักที่หล่อเลี้ยงบริษัท
.
ยุโรปจึงเดินหน้าไล่บี้ต่อในปี 2020 – 2021 เช่น การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อปิดช่องโหว่และเพิ่มความเข้มงวดขึ้น และการนำเคสของเฟซบุ๊กขึ้นสู่ศาล ซึ่งศาล CJEU ได้ตัดสินให้การกระทำของ Facebook ขัดต่อกฎหมาย GDPR นอกจากนี้ ทางฝั่งคณะกรรมการผู้บริโภคในไอร์แลนด์ ก็มีการตัดสินให้ Facebook ยุติการถ่ายโอนข้อมูลข้ามทวีป เพราะขัดต่อกฎหมาย GDPR เช่นกัน หาก Facebook ยังดื้อแพ่งต่อ ยุโรปสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

Meta ขู่ปิดบริการ ‘Facebook-IG’ ในยุโรป

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

MT4 คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม: รีวิวโบรกเกอร์

 

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด