29.5 C
Thailand
วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
- Advertisement -spot_img

เงินบาท วันนี้เปิด’แข็งค่า’ ที่33.63บาทต่อดอลลาร์

เงินบาท วันนี้เปิด’แข็งค่า’ ที่33.63บาทต่อดอลลาร์ : “กรุงไทย” ชี้เงินบาทยังมีแรงกดดันอ่อนค่าจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิดโอมิครอนในประเทศ จับตากระแสฟันด์โฟลว์ต่างชาติ คาดแรงขายนักลงทุนต่างชาติไม่รุนแรง บาทยังไม่อ่อนค่าหลุด34บาทต่อดอลลาร์มองกรอบเงินบาทวันนี้ 33.55-33.75บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้(10ม.ค.) ที่ระดับ33.63 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 33.65 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.30-33.90 บาทต่อดอลลาร์ และกรอบค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.55-33.75 บาทต่อดอลลาร์

อ่านเพิ่มเติม:รีวิวโบรกเกอร์

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนในกรอบที่กว้าง โดยเงินบาทยังมีแรงกดดันจากปัญหาการระบาดในประเทศ ซึ่งต้องจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ แต่เรามองว่า แรงขายสินทรัพย์ไทยอาจไม่รุนแรงเพราะนักลงทุนต่างชาติไม่ได้กังวลปัญหาการระบาดโอมิครอนมากนัก อีกทั้งตลาดหุ้นไทยมีหุ้นกลุ่ม Cyclical ทั้งพลังงานและการเงินเป็นสัดส่วนใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวต่อการปรับนโยบายการเงินเฟดน้อยกว่าหุ้นเทคโนโลยี

ดังนั้น เรามองว่าเงินบาทจะไม่อ่อนค่าทะลุ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ หากปัญหาการระบาดไม่ได้ถึงขั้นวิกฤติ อนึ่งแนวต้านสำคัญของเงินบาทจะขยับขึ้นมาอยู่ที่โซน 33.75-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งจะมีผู้ส่งออกรอทยอยขายเงินดอลลาร์ในโซนดังกล่าว ส่วนแนวรับสำคัญของเงินบาทจะอยู่ในโซน 33.30-33.40 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นระดับที่ผู้นำเข้าต่างรอเข้าซื้อเงินดอลลาร์พอสมควร

ส่วนเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ หากทั้งเงินเฟ้อรวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็ว ทว่า Upsides การรีบาวด์ของเงินดอลลาร์อาจไม่มากนัก เพราะตลาดได้รับรู้โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วไปมากแล้ว อย่างไรก็ตาม หากตลาดเริ่มกลับมาเปิดรับความเสี่ยงได้มากขึ้น เงินดอลลาร์ก็อาจจะย่อตัวลงได้บ้าง ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ที่ลดลง

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) จากความกังวลเฟดอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้เร็วกว่าคาด

ควรติดตามรายงานข้อมูลเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของประธานเฟดรวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดในปีนี้

โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้

ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะให้ความสนใจรายงานข้อมูลเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนธันวาคม หลังจากที่ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ล่าสุดได้สะท้อนว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาจใกล้ถึงระดับที่เฟดพึงพอใจ โดยหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 7.0% จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่เฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วกว่าคาด อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมและพร้อมลดงบดุลในปีนี้ ซึ่งเรามองว่า หากเฟดจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมได้จริง เฟดจะต้องมีการสื่อสารล่วงหน้า ดังนั้น ควรจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ John Williams ที่มีท่าทีเป็นกลางต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินเฟด และที่สำคัญตลาดจะจับตาการแถลงต่อคณะกรรมาธิการ Senate Banking ในกระบวนการสรรหาประธานและรองประธานเฟด (Confirmation Hearing) ของว่าที่ประธานเฟดสมัยที่ 2 Jerome Powell และ ว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard ว่าทั้งสองท่านจะมีมุมมองต่อภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้ออย่างไร รวมถึงมุมมองต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเฟดในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งนี้ เรามองว่า ทั้งสองท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่เฟดบางส่วน อาจรอประเมินผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนต่อการเติบโตเศรษฐกิจ โดยสัญญาณผลกระทบเบื้องต้นอาจสะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนธันวาคม ที่อาจหดตัว -0.1%m/m แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลที่ปกติแล้วยอดค้าปลีกควรขยายตัวได้ดี รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนมกราคมที่อาจชะลอลงสู่ระดับ 70 จุด

ฝั่งยุโรป – เนื่องจากการระบาดของโอมิครอนในยุโรปอาจเข้าใกล้ถึงจุดเลวร้ายที่สุด อีกทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยังไม่รุนแรงมากนัก ทำให้นักลงทุนสถาบันอาจไม่ได้มีมุมมองเชิงลบมากขึ้นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจและทิศทางตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งจะสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) ในเดือนมกราคม ที่อาจปรับตัวลงเล็กน้อยสู่ระดับ 13 จุด ทั้งนี้ เรามองว่า ตลาดหุ้นยุโรปยังมีความน่าสนใจลงทุน เนื่องจากมีสัดส่วนหุ้นในกลุ่ม Cyclical ที่จะได้รับอานิสงส์จากธีมการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระดับที่สูงราว 54% ส่วนระดับราคาหุ้น ณ ปัจจุบันถือว่ายังไม่แพงไปมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลกหรือตลาดหุ้นสหรัฐฯ และที่สำคัญธนาคารกลางยุโรปก็ยังไม่มีทีท่าจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วเหมือนกับเฟด อนึ่ง ผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนที่ยังคงสร้างปัญหาด้าน Supply Chain จะทำให้ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของยุโรปในเดือนพฤศจิกายน หดตัวราว -0.1% จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงจากที่โตได้ +1.1% ในเดือนตุลาคม

ฝั่งเอเชีย – เราคาดว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.00% ก่อน จนกว่าBOK จะมั่นใจว่าการระบาดของโอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น BOK จะสามารถกลับมาขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในช่วงปลายไตรมาส 1 หรือ ในไตรมาสที่ 2 ส่วนในฝั่งจีน ยอดการส่งออก(Exports) ในเดือนธันวาคม มีแนวโน้มขยายตัวได้กว่า +20%y/y หนุนโดยความต้องการสินค้าทั่วโลกและระดับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น (สอดคล้องกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นหรืออยู่ในระดับสูงในหลายประเทศ) อย่างไรก็ดีในระยะสั้น ยอดการส่งออกของจีนอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนบ้าง แต่คาดว่าความต้องการสินค้าจากทั่วโลกจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น หลังการระบาดเริ่มสงบลง ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกของจีนยังคงขยายตัวได้ดีและช่วยหนุนให้เศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น

ฝั่งไทย – เราคงมองว่า ผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่จะไม่กดดันให้เศรษฐกิจซบเซาหนัก เนื่องจากรัฐบาลจะพยายามเลี่ยงการใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวด โดยอาศัยการเร่งแจกจ่ายวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงต่อระบบสาธารณสุข อย่างไรก็ดี แม้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่มากนัก แต่การระบาดของโอมิครอนอาจกดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในระยะสั้นได้ ซึ่งอาจสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนธันวาคมที่อาจย่อตัวลงเล็กน้อยและอาจปรับตัวลดลงมากขึ้น จนกว่าสถานการณ์การระบาดจะมีแนวโน้มดีขึ้น เงินบาท วันนี้เปิด’แข็งค่า’ ที่33.63บาทต่อดอลลาร์

Exness รีวิว

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

bestbroker168

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168

 

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด