31.7 C
Thailand
วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
- Advertisement -spot_img

Decentralized Finance (DeFi) คืออะไร?

Decentralized Finance (DeFi) คืออะไร?

 

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อนๆ คงจะเคยได้ยินคำว่า ICO ตอนนั้นบูมมากๆ จนทำให้คนเริ่มสนใจว่ามันคืออะไร ต่างจาก IPO อย่างไร ดูเหมือนจะเป็นเทรนด์แห่งอนาคตที่จะมาพลิกวงการการระดมทุนกันเลยทีเดียว

ด้วยเพราะทำได้ง่ายกว่าการเสนอขาย IPO มีเพียงไอเดีย ก็ทำเหรียญโทเคนออกมาเสนอขายนักลงทุนได้แล้ว โดยอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)

 

          แต่ปัจจุบันนี้ ตลาด ICO ได้วายไปเสียแล้วทั้งในต่างประเทศและในไทย โปรเจกต์ส่วนใหญ่ล้มเหลวไม่เป็น ท่า ไอเดียที่เสนอมาไม่สามารถที่จะต่อยอดเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ตามแผน นอกจากนี้ ยังมีโปรเจกต์หลอกลวง
อีกมากมาย หน่วยงานภาครัฐก็ออกมาเตือน ซึ่งในที่สุดแล้วกระแสของ ICO ก็ค่อยๆ เงียบไป D

ecentralized Finance (DeFi) คืออะไร?

         “DeFi” อันเกิดขึ้นจากพื้นฐานของบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีเช่นกันและเลดี้ฯ คิดว่า อาจจะต้องทำความรู้จักไว้สักหน่อย จะได้ไม่ตกเทรนด์ ส่วนอนาคตจะรุ่งไม่รุ่ง จะเป็นเหมือน ICO มั๊ย? อันนั้นไม่รู้ เพราะมันยังเพิ่งตั้งไข่

เมื่อเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ก็ต้องฟังจากผู้เชี่ยวชาญ เลดี้ฯ เคยมีโอกาสได้ฟัง (ตอนโควิดระบาดหนัก) เรื่อง DeFi จาก LIVE SCBTV แต่ก็ไม่คิดว่าผ่านไปแค่ 3 เดือน กระแส DeFi จะบูมได้มากขนาดนี้

บทความนี้จะอ้างอิงข้อมูลจาก LIVE SCBTV หัวข้อ Decentralized Finance

 

Decentralized Finance (DeFi) โดยไล่จากกำเนิดของคริปโทเคอร์เรนซีซึ่งถือว่าเป็น “รากฐาน” ของ DeFi จุดเริ่มต้นคือปี 2552 คริปโทเคอร์เรนซีอย่าง “บิตคอยน์” ได้กำเนิดขึ้นก่อนที่ต่อมาจะมีอีกหลายสกุล เช่น อีเธอเรียม, บิตคอยน์แคช,ไลต์คอยน์ เป็นต้น พวกนี้นี่คือคลื่นลูกแรกซึ่ง “คริปโทเคอร์ เรนซี” ก็จะมีเพื่อใช้ทำธุรกรรมแค่โอนไปมาให้กัน และก็มีการใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ในการระดมทุนแบบ ICO

 

ต่อมาคลื่นลูกที่ 2 ก็เกิดพัฒนาการเป็น “ระบบการให้บริการทางการเงิน” ด้วยคริปโทฯ ขึ้นมา โดยจะทำงาน
บนระบบบล็อกเชน (Blockchain) ด้วยคำสั่งอัตโนมัติของ Smart Contract ซึ่งเป็นชุดของโค้ดคอมพิวเตอร์

 

Smart Contract  อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ สมมุติเวลาเราซื้อของออนไลน์เราไม่รู้จักคนขาย ทำให้อาจเสี่ยงโอนเงินไปแล้วไม่ได้ของ จึงมีการเขียนเงื่อนไขด้วยโค้ดคอมพิวเตอร์ว่า เมื่อโอนเงินไปแล้วเงินจะพักไว้ก่อน (ยังไม่ถึงมือคนขาย) จนกว่าคนขายจะส่งสินค้าถึงมือผู้ซื้อ เมื่อนั้น Smart Contract ถึงจะทำการโอนเงินให้ผู้ขาย ซึ่งโค้ดจะทำงานตามคำสั่งที่เขียนไว้

 

และด้วยความฉลาดของ Smart Contract มันจึงทำให้เราสามารถทำธุรกรรมการเงินต่างๆ เช่น ฝากเงิน กู้เงิน ลงทุน ฯลฯ เหมือนกับที่ทำกับระบบธนาคารได้ ด้วยวิธีการเขียนเงื่อนไขต่างๆ ลงไปเป็นโค้ดคอมพิวเตอร์ ต่างกันแค่ระบบใหม่นี้ไม่ต้องผ่านธนาคาร (ซึ่งเป็นตัวกลาง) และใช้คริปโทฯ เราจึงเรียกระบบการเงินแบบนี้ว่า DeFi หรือบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลาง ดังนั้น คนที่มาใช้บริการ DeFi คือคนที่เชื่อใจโค้ดคอมพิวเตอร์หรือ Smart Contract ว่ามันทำงานถูกต้อง ไม่มีการแก้ไขใดๆ

 

ความเสี่ยงของการใช้บริการ DeFi

1. บริการ DeFi ตัวใหม่ๆ ต้องระวัง ถ้าอ่านโค้ดได้จะดีมาก ต้องเข้าใจ Smart Contract ตัวนั้นๆ ก่อน แต่ถ้าอ่านโค้ดไม่ได้ก่อนจะเอาคริปโทฯ ไปทำให้มันเกิดประโยชน์  อาจจะรอสักพักให้มีคนเข้าไปใช้เยอะๆ จนมั่นใจก่อน

2. ลงทุนในระดับความเสี่ยงที่รับได้ อย่าลงหมดหน้าตัก และสนุกไปกับมันเพราะเราอยู่ในโลกใหม่ของคริปโท เคอร์เรนซีแล้ว

 

bestbroker168

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด