26.1 C
Thailand
วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
- Advertisement -spot_img

ดอลล์แข็งค่า หลัง พาวเวล ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อ

ดอลล์แข็งค่า หลัง พาวเวล ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อ

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (25 ส.ค.) หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดเปิดเผยในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮลว่า เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.09% แตะที่ระดับ 104.0776

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน, ยูโร, ปอนด์, ดอลลาร์แคนาดา และโครนาสวีเดน โดยดอลลาร์แข็งค่าแตะ 146.3690 เยนในวันศุกร์ (25 ส.ค.) จากระดับ 145.8610 เยนในวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.), ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะ 1.3591 ดอลลาร์แคนาดาจากระดับ 1.3575 ดอลลาร์แคนาดา และดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะ 11.0306 โครนาสวีเดน จาก 10.9889 โครนาสวีเดน แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะ 0.8838 ฟรังก์สวิส จากระดับ 0.8845 ฟรังก์สวิส

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขานรับถ้อยแถลงของนายพาวเวล ซึ่งส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งแตะ 104.42 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.

นายพาวเวลกล่าวว่า เงินเฟ้อยังคงอยู่สูงเกินไป และเฟดเตรียมการที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ “แม้ว่าเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงจากระดับสูงสุด ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่ดี แต่ก็ยังคงอยู่สูงเกินไป โดยเราเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป หากมีความเหมาะสม และจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง จนกว่าเรามีความมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงอย่างยั่งยืนไปสู่เป้าหมายที่เรากำหนดไว้” นายพาวเวลกล่าวในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิงในวันศุกร์

สาระเพิ่มเติม

กลงทุนทั่วโลกต่างต้องให้ความสนใจกับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายของเฟดเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เป็นมาตรฐานเพื่อการเปรียบเทียบ และชี้นำทิศทางดอกเบี้ยในตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปทั่วโลก เพื่อปรับสมดุลของผลตอบแทนและความเสี่ยงของตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ วันนี้ผมจะชวนคุยถึงเหตุการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดปรับตัวสูงขึ้น หรือ Yield Shift ว่าจะส่งผลต่อผลตอบแทนของทรัพย์สินทางการเงินอย่างไรบ้างครับ
 กรณีเฟดปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น มีความหมายว่าต้นทุนทางการเงินในการดำเนินธุรกิจทั้งของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนจะสูงขึ้น รวมถึงผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังจากการลงทุนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งที่เราจะเห็นโดยเร็วเมื่อเฟดปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย คือ ผู้ลงทุนอาจโยกเงินลงทุนจากตลาดเกิดใหม่ในหลายๆ ประเทศ (อาทิ บราซิล อินเดีย และจีน รวมถึงตลาดทุนไทยด้วย) แล้วนำกลับไปลงทุนในสหรัฐ การโยกเม็ดเงินลงทุนนี้จะส่งผลกระทบทั้งตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน
 สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างชัดเจน คือ ตราสารหนี้ระยะยาวที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน ไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามอัตราดอกเบี้ยตลาดที่ปรับขึ้นได้ ทำให้มูลค่าตลาดของตราสารหนี้ระยะยาวลดลง นักลงทุนจะหันไปให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ระยะสั้นถึงระยะกลางที่ออกมาใหม่ในช่วงนี้มากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าผลตอบแทนจะสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

 

ข้อมูลจาก  RTY9

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด