41.8 C
Thailand
วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
- Advertisement -spot_img

ทำความเข้าใจ GameFi ผ่าน Tokenomics

ทำความเข้าใจ GameFi ผ่าน Tokenomics

นิยาม ของ Tokenomics ปัญหา และ  สิ่งที่ควรจะเป็น
โพสนี้เขียนให้สำหรับ ใครก็ตามที่อยากเข้าร่วม DAO Community หรือ ผู้ประกอบการ หรือ Dev ที่กำลังเข้าสู่อุตสาหกรรม web3 นะครับ
หลายๆคนเข้าใจผิดว่า Tokenomics คือศาสตร์แห่งการกระจายเหรียญ แต่จริงๆแล้ว Tokenomics คือ Token + economics

Token = คือ ใดๆ ที่สามาถส่งต่อ แลกเปลี่ยน ไปให้คนอื่นได้
Economics = เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ (Economics) มี นิยาม มาอย่างช้านาน ในยุค Physical มีนิยาม คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคม (social science ) ของใครก็ตาม

ที่มีต่อ ผลิตภัณฑ์ (goods and services) ตั้งแต่การผลิต , การกระจายสินค้า ไปจนถึง การบริโภค

เมื่อโลกเราผันเข้าสู่ยุค digital นิยามของเศรษฐศาสตร์ยังเหมือนเดิม แต่ ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนจาก context ของระบบ Accounting หรือ อุตสาหกรรมแบบเก่า กลายเป็น intangible asset เช่น data/ information asset ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ต้องเข้าใจ Metric หรือ ตัวชี้วัด ใหม่ แล้วนำมาปรับใช้กับวิชา economics
มาถึงยุค web3 ที่ ระบบนิเวศ trust พอที่จะไม่ส่งแค่ data แต่สามารถส่ง wealth หรือความมั่งคั่งได้, Economist หรือ Tokenomics จำเป็นที่จะต้อง ทำความเข้าใจ ,นิยาม และ ออกแบบ Metric หรือ ตัวชี้วัด ขึ้นมาใหม่ From Scratch

 

ปัญหาก็คือ “ความมั่งคั่ง” มาพร้อมกับ “ความโลภ” ซึ่งเป็นอะไรที่ปักเจค มากๆ มีตัวแปร (variable )หลายอย่างที่ควบคุมและกำกับไม่ได้ เพราะ ตัวแปรหลายอย่างในระบบ เชื่อมติดกัน (Connectivity) ส่ง ผลกระทบซึ่งกันและกัน ( Sensitivity ) หากออกแบบระบบ(System)ไว้ไม่ดี ระบบทั้งหมดของเราจะพังและกู้กลับมาไม่ได้ ต่างจากระบบเก่า

โรงงานเสียหายก็ซ่อมแซมได้ ระบบข้อมูลล่มก็กู้ได้ เพราะ ระบบในโลกเก่าไม่ได้ผูกติดกับมูลค่าของเงิน แค่ในระบบใหม่ ถ้าระบบพัง เท่ากับ Wealth พังไปด้วยและแทบไม่มีทางกู้คืนได้เลย
จะเห็นได้ว่า Tokenomics  ไม่ใช่การกำหนดสัดส่วนที่จะแจกเหรียญ แต่เป็นการศึกษาในพฤติกรรมของ User

เพื่อนำไปผสานกับศาสตร์ของ Token Enginner หรือก็คือ การวาง Architect และ กำกับระบบไม่ให้พังครับ

สำหรับผม การออกแบบ Tokenomics ที่ดีและยั่งยืนคือ
👍🏻 “ควร”ให้ผลตอบแทน (Reward) ต่อ ผู้ขับเคลื่อนระบบและสร้างสมดุลต่อระบบ”ในระยะยาว” ด้วย ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ “ในระยะสั้น”
👎 “ไม่ควร” ให้ผลตอบแทน (Reward) ต่อ ผู้ขับเคลื่อนระบบ “ในระยะสั้น” (หรือ Early Adopter) ด้วย ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ “ในระยะยาว”
หลายท่านอาจจะงง ขอยกตัวอย่าง Tokenomics ของ Gamefi ตัวอย่างใหญ่ๆ ก็อย่างเช่น Axie

ระบบ Play-to-Earn ในปัจจุบัน ขับเคลื่อนได้จาก เงินของคนเข้าใหม่ + เงินของคนเก่าที่ลงเพิ่ม จะสังเกตเห็นได้ว่า คนที่ลงเงินในช่วงเวลาต้นๆ (Early Adopter ) “มีส่วนร่วมแค่ครั้งแรกครั้งเดียว” แต่ได้ Reward มาจาก User ที่ “เข้ามาใหม่ ณ ตอนนี้ และ ในอนาคต” เป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ได้ ตราบเท่าที่ Early Adopter ยังไม่ถอนเงินออก

ระบบนี้จะพังก็ต่อเมื่อ คนที่เอาเงินมาลงใหม่ไม่พอจ่าย Rewardที่เพิ่มชึ้นเรื่อยๆจากการโตของระบบ ให้คนก่อนหน้า พอผลตอบแทนเริ่มไม่สมดุลต่อ Early Adopter เขาก็จะถอนเงินออก จนระบบพังครับ
เช่นเดียวกันกับ
-ระบบ Masterchef ที่ ฟาร์มซิ่งส่วนใหญ่ fork มา
-ระบบ Reflection Token อย่าง Safemoon ที่ทุกๆ Transaction จะหัก Tax ไปให้กับ Holder ก่อนหน้า
– ระบบ Bonding (ที่แจก Inflation เกินตัว ให้กับ Early Adopter)

ซึ่งจริงๆ ผมว่า Policy Maker เค้ารู้แหละว่า การออกแบบ Tokenomics มันไม่ยั่งยืน แต่ระบบแบบนี้มันขายได้ เพราะ ตลาดนี้มันขับเคลื่อนด้วยความโลภ และเขาคงคาดหวังว่า เขาจะค่อยๆเปลี่ยนกลับไปสู่ ระบบ Tokenomics ที่ยั่งยืนในอนาคต ก่อนระบบจะพัง
จริงๆ Policy Maker เหล่านี้เก่งมากนะครับ ไม่ว่าจะเป็น Zeus คนทำ OHM หรือ คนออกแบบ Safemoon ที่สามารถออกแบบระบบให้พังช้าที่สุด แต่ต่อให้เก่งขนาดไหนมันจะไม่มีค่าอะไรเลยถ้าไม่มี Product อยู่ในมือ

ส่วนตัวอย่างระบบที่แจก Reward หรือ Tokenomics ที่ดี ณ ปัจจุบัน มีอะไรบ้าง? ถ้าให้ผมตอบตามตรงคือ ไม่มีครับ 5555
แต่ Usecase ที่ใกล้เคียงที่สุด คือการแจก Airdrop ของ Protocol บน ETH อย่างเช่น Lyra หรือ Paraswap
(การแจก Airdrop คือ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ระยะสั้น เพราะจ่ายต้นทุนไปครั้งเดียว ระบบในอนาคตไม่มี Sensitivity เพิ่ม เพราะ ไม่มีแรงเทขายออกมาอีก ไม่เหมือนการ farm)

โดยเขาจะแจก Airdrop เฉพาะคนที่สร้างคุณค่าแก่ Community จริงๆ ผ่านข้อมูลใน Discord “โดยไม่บอกก่อน” ทำให้สามารถวัด Contribution ของ User ได้จริงๆ แต่จะเห็นได้ว่า Reward ที่แจกไป “อาจจะ” ไม่ได้แจกให้กับ ผู้ขับเคลื่อนระบบและสร้างสมดุลต่อระบบ”ในระยะยาว” ได้ทุกคน พอเขาได้ Airdrop บางคนอาจจะเปลี่ยนจาก Longterm Supporter กลายเป็น Early Adopter ไปโดยปริยาย ครับ

ณ ปัจจุบัน เป็นเรื่องยากถึงยากที่สุด ที่ เราจะสามาถทำนายพฤติกรรมของผู้มีส่วนร่วมในระบบ และ ออกแบบ tokenomics ที่เหมาะสม แต่ยากยิ่งกว่า สำหรับ Token Engineer และ Developer ที่ออกแบบระบบที่ Flexible พอที่สามารถ pivot ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรมของ user ในโลก Web3 ครับ และเราไม่สามารถเอา Practice ของโลก Startup แบบเดิมมาประยุกต์ใช้ได้
Token Engineer, Tokenomist และ Developer ต้องนั่งตัวติดกับทุกๆ Department ขององค์กร

เพื่อหา Solution และ Practice ในโลก web3 ให้เจอ ศาสตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่มาก และ ยังอยู่ในช่วง Experimental กันอยู่ ซึ่งเปลี่ยนเร็วมาก ต้องจับตาและศึกษา Usecase อย่างใกล้ชิดครับ

ทำความเข้าใจ GameFi ผ่าน Tokenomics

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ Rati Montreewat

 

สมัคร Exness

โบรกเกอร์ Exness

MT4 คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม: รีวิวโบรกเกอร์

 

Website : www.bestbroker168.com
Facebook.com: bestbroker168
Instagram.com: bestbroker168
Line ID : @bestbroker168

- Advertisement -spot_img
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisement -spot_img
spot_img
spot_img
บทความล่าสุด